หน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับ การฉกฉวยผลประโยชน์


เมื่อสังคมมักแบ่งออกเป็น คน 2 กลุ่ม เสมอ
กลุ่มชอบฉกฉวยผลประโยชน์ และ กลุ่มชอบช่วยตัวเอง
โดยกลุ่มหลังมัก ตกเป็นเหยื่อ ของคนกลุ่มแรก
เพราะมีปากเสียงน้อยกว่า หรือเพราะ กฏหมายเขียนโดยคนกลุ่มแรก

เวลานี้ สังคมที่เล็กที่สุด หมู่บ้าน
กำลังถูก ยัดเยียด ความสกปรก โสมม น้องๆการเมืองระดับใหญ่

กรรมการนิติ เปรียบ ได้เท่ากับตัวแทน หรือ สส.
ได้มาจาก การเลือกตั้ง กำมะลอ
การประชุมใช้การมอบอำนาจซ้ำซาก
ใช่ลายเซ็นปลอม
เขียนรายงานการประชุมปลอม
ค่าใช้จ่ายจอมปลอม
หลายอย่างทั้งที่ไปขอ งบ มาจาก อบต.
แต่ก็มาเก็บเอาจากส่วนกลางซ้อนอีกที

กรรมการนิติ ไม่มีงานทำ
งานหลักคือ ทวง กับ เก็บค่าส่วนกลาง
แล้วหาทางใช้งบ

น้ำท่วมคราวนี้
ก็ ล่อ เอาจนงบ ค่าส่วนกลาง จนหมด!

อ้างว่า เป็นค่าก่อกำแพง กระสอบทราย
ทั้งที่ไม่ได้ก่อสูง หรือแข็งแรงเท่าไหร่
OK อยากทำก็ทำไป โดยไม่ประเมินสถานการณ์
นิคมที่ล่มมาก่อนหน้า 7 นิคม

ต่อมาน้ำก็เข้าหมู่บ้านอยู่ดี เพราะมันก็เหมือนทุกที่
คือมันซึมมาตามพื้นดิน กับท่อน้ำ

แล้วยังฉลาดมากด้วยการสูบน้ำวน
สูบน้ำทั้งที่น้ำข้างนอกระดับก็ไม่ต่างกันเลย
สูบมันตะบัน เพื่อสร้างภาพและ
เพื่อความสบายใจของกรรมการบางคน
ที่เป็นผู้เสนอความฉลาดรอบรู้ด้านการจัดการน้ำ
ทั้งที่ไม่เคยมีประสบการณ์

และเพื่อเป็นข้ออ้างว่า เอาไปซื้อน้ำมันมาเครื่องสูบน้ำจนหมด

หมดแล้ว หมดแล้ว (เงิน)

สรุป
เงิน 5000 นี่ พวกเราต้องช่วยกันบริจาค เพราะเงินส่วนกลางหมดแล้ว
ว่าแล้วก็มาดักขอลายเซ็น กับใบมอบอำนาจ

ต่อมาก็มาขอลายเซ็นหน่อย จะไปเอาค่าซ่อมแซม 20000 มาอีก
ขอโทษที หมู่บ้าน น้ำเข้ามาก็จริงแต่ไม่ได้เข้าถึงตัวบ้านที่ยกระดับสูง
จะไปโกหก หน้าด้าน เอาเงินหลวง อีกหละสิ

เบื่อคนพวกนี้เสียจริง

ตายไปซะ พวกหนักแผ่นดิน

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับ ความยั่งยืนของสังคมไทย

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ได้ส่งผลต่อความยั่งยืนของสังคมไทย

สังคมไทย (เดิม)              
อยู่กันด้วยระบบชนชั้น ผู้ใหญ่ดูแลผู้น้อย

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
เล่นพรรคเล่นพวก
รุมรังแกคนไม่เข้าพวก

สังคมไทย (เดิม)
ถ้อยทีถ้อยอาศัย
คบกันเหมือนญาติพี่น้อง

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
เล่นงาน กลั่นแกล้ง ฟ้องร้อง
คบกันเพื่อหวังเอาผลประโยชน์ส่วนกลางมาเป็นของตน

สังคมไทย (เดิม)
พึ่งตนเอง ใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียง
แบ่งปัน ลงแขกทำงานให้ชุมชน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
จ้างแหลก เพื่อกินค่าหัวคิว ค่ากวาดถนน ค่ายาม ค่าขยะ ค่าตัดต้นไม้
ค่าจัดเลี้ยง และอื่นๆ เท่าที่จะสรรหามาได้

สังคมไทย (เดิม)
สร้างคนดี มีคุณธรรม
สังคมน่าอยู่

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
สร้างคนยักยอก หลอกกินเงินชาวบ้าน
ทำให้คนดี ท้อแท้ ไม่อยากอยู่ในสังคม

สังคมไทย (เดิม)
ทำให้เป็นที่ๆมีความสุข

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
ทำให้ นรก มีจริง และคนจะทิ้งหมู่บ้าน หรือ นรก ไปอยู่ที่อื่น จนร้าง
ท้ายที่สุด นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะล่มสลาย
กลายเป็นหนึ่งในตำนานการจัดการสังคมที่ล่มสลาย...





วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เมื่อนิติบุคคลถูกฟ้องให้เพิกถอนการจดทะเบียน

เคสศึกษานี้เป็นกรณี ที่ดินเปล่า ในหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ย่านปทุมธานี
ที่ดินเปล่า ก็แปลว่าไม่มีผู้อยู่อาศัย
จึงไม่ได้ใช้สาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ
กรณีนี้จะชัดเจนกว่ากรณีซื้อบ้านไว้แต่ไม่ได้มาอาศัยอยู่
แต่เนื่องจาก พรบ.มัดมือชก 2543 ระบุว่า
เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน ทุกแปลง ต้องจ่ายค่าส่วนกลาง
นิติฯ ก็เลยได้ช่อง ใช้ กม. เป็นอาวุธ
ฟ้องเจ้าของที่ดินเปล่าให้จ่ายค่าส่วนกลาง ซะเลย
ต่อมา เจ้าของที่ดินเปล่า จึงรวมตัวกัน เพื่อฟ้อง นิติฯ กลับ
อยากถามว่าใครเคยเจอมั้ง ว่าคนที่ทำงานด้วยกัน เลิกงานแล้วชวนไปทางอาหารเป็นกลุ่ม แล้วปรากฏว่า พวกผู้ชาย สั่งเหล้า เบียร์มามากมาย พอตอนหลังเช็คบิล ก็มาแชร์ หารเท่าๆกัน โดนไปพันเศษๆ พวกนั้นก็ทำหน้าแบบกูรไม่รู้หรอกนะว่ามันแพงมาก นี่กูรโคตรแฟร์เลย หารเท่าๆกัน  เจอแบบนี้ 2-3 ครั้ง ก็เข็ด ถามจริงเถอะ ถามใจตัวเอง ว่าจงใจหลอกชวนไปแชร์ค่าเหล้าเบียร์ใช่ไหม อันนี้พอเรารู้เรา ทีหลังเราก็ปฏิเสธ ว่าเราไม่อยากไปได้ ไม่เหมือนกรณี นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คนคิดกฏหมาย ก็พวกคิดแบบทำนองแชร์ค่าเหล้าเบียร์นี่เอง แต่เมื่อไปเจอเพื่อนต่างชาติ คำว่าแฟร์ คือ เค้าจ่ายส่วนที่เค้าใช้ เช่นเค้าชวนไปกินข้าว แล้วบอกว่าแชร์ เค้าสั่งไวน์มากิน สั่งอาหารแพงๆ แล้วเค้าก็จ่ายส่วนของเค้าเองทั้งหมด ไม่ได้มา "หาร" บ้าๆแบบ Thailand ที่พอนัดไปกินแบบแชร์ กูรก็จะตะบี้ตะบันสั่งที่มันคุ้มๆ เยอะๆ เพราะจะได้ไม่เสียเปรียบ ยิ่งถ้ากินเกินที่ตัวเองจ่ายละก็จะพอใจมากๆ ลองเปรียบเทียบกับ กรณี นิติฯ ดูว่ามันสนุกเพียงใด ที่ได้บริหารการแชร์ทรัพยากร ทั้งเงินและอำนาจ ยิ่งเอาไปเป็นประโยชน์แก่ตนเองและพวกได้มากแค่ไหน ก็ยิ่งพอใจมากเท่านั้น...
สรุปประเด็นสำคัญจากคำฟ้องของโจทก์ไว้ดังนี้

1) โจทก์และพวกรวม 6 คน เป็นสมาชิกที่ถือครองที่ดินเปล่าตั้งแต่ช่วงปี 2356 จนถึงปัจจุบัน และถูกนิติบุคคลฟ้องคดีแพ่ง เพื่อเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลาง ซึ่งค้างชำระมาตั้งปี 2549
2) โจทก์อ้างว่าการซื้อที่ดินของโจทก์ เป็นการซื้อและได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาก่อนที่พระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน 2543 จะบังคับใช้  โจทก์ทั้งหกจึงไม่ได้อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน 2543
3) โจทก์อ้างว่าไม่ได้รับทราบถึงการจัดให้มีการประชุมเพื่อลงมติให้จัดตั้งนิติบุคคล
4) โจทก์อ้างว่าเมื่อขอจัดตั้งนิติบุคคลนั้น มีจำนวนสมาชิกที่ลงมติให้จัดตั้งนิติบุคคลไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดตามกฏหมาย ทำให้การจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นการจดทะเบียนที่ขัดต่อหลักกฏหมายอันเป็นโมฆะมาแต่ต้น
5) โจทก์อ้างว่าตั้งแต่รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินมาจากบริษัท ล.อ.ฮ. โจทก์ทั้งหกยังไม่เคยได้รับบริการใด ๆ จากนิติบุคคล และยังไม่เคยเข้ามาใช้ทรัพย์สินส่วนกลาง
6) โจทก์ขอให้ศาลเพิกถอนมติการประชุมให้จัดตั้งนิติบุคคลเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2549 และให้เพิกถอนการจดทะเบียนการจัดตั้งนิติบุคคล
ไม่ว่าเคสนี้จะถือเป็นการเริ่มต้นของสงครามระหว่างผู้อยู่อาศัย ผู้ซื้อ กับ นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือไม่
แต่ก็นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการต่อสู้ที่น่าชื่นชม เพราะจากที่เคยสอบถามก็ไม่มีใครอยากจ่ายนักหรอก ค่าส่วนกลาง เหมือนจะดี มีคนเฝ้าบ้าน กวาด ถนนให้ ชีวิตจะเปลี่ยนไป เมื่อวันหนึ่งโดนขโมยขึ้นบ้านขนไปจนเกลี้ยง แล้วค่อยมาสำนึกว่า รู้งี้เอาเงินไปติดกล้องวงจรปิดดีกว่า หรือจ่ายเงินค่าอาหารเลี้ยงสุนัข ยังดีกว่าเสียเงินจ้าง ย. ที่ไม่รับผิดชอบอะไรทั้งนั้น ไม่รู้ไม่เห็นลูกเดียว ของที่โดนขโมยถ้าเป็นประเภททรัพย์เคลื่อนที่ได้ ก็จะอยู่ในข้อยกเว้นการรับประกัน
คนที่จ่าย มักคิดว่าไม่อยากโดนทวง แค่เงินเล็กน้อย หรือไปทำงานหาเงินดีกว่า ปวดหัว จ่ายๆมันไปให้สิ้นเรื่อง หรือบางคนก็กลัวโดนฟ้อง
แต่ต่อไปมันจะไม่ใช่เช่นนั้น เมื่อเราแก่เฒ่า กินเงินบำนาญ เฝ้าบ้าน กวาดบ้านเอง แล้วต้องเสียเงินเดือนละ 1-2 พันบาท เท่าไหร่ไม่อาจคาดเดาได้
เพราะค่าส่วนกลางเท่าไหร่ มันก็ขึ้นกับมติที่ประชุมนิติฯกำมะลอนั่น เป็นภาระผูกพันระยะยาววววววไปชั่วลูกชั่วหลาน คนที่มันกินๆนอนๆกินค่าส่วนต่าง มันก็จะส่งไม้ผลัดต่อให้ลูกหลานยาวววววววกันถึงชั่วลูกชั่วหลานแน่ ทรัพย์สินที่ใช้เวลาชั่วชีวิตผ่อนมา ก็จะกลับกลายเป็นภาระก่อหนี้สิน โดนฟ้องจนโดนยึดขายทอดตลาดไปในที่สุด เรายังแก้ปัญหานี้ได้ตอนนี้ ลองหยุดจ่ายกันเยอะๆ ให้ กม. นี้มันล้มซะตอนนี้ งัยมันก็ไปไม่รอดอยู่แล้ว จะ 10 ปี หรือ 100 ปี ให้รัฐ ออกระเบียบใหม่ให้มันดีกว่านี้ เช่นมี หน่วยงานกลางของภาครัฐ แบบอเมริกา ที่มีสมาคมบ้านจัดสรร ดูแลไปเลยแบบเหมาทั้งรัฐ มีการควบคุมโดยผู้ว่าการรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้ง หรือจริงๆ สมาคมบ้านจัดสรร เทียบเท่าได้กับ อบต. บ้านเรานั่นแหละ เพราะเป็นคนดูแลเรื่องถนน ต้นไม้ ขยะ สาธารณูปโภคทั้งหมด มีแต่บ้านเรานี่แหละ ที่เอา กม. เค้ามาใช้ แต่เอามาไม่หมด จัดระเบียบให้ชัดว่าค่าดูแลต่อพื้นที่เท่าไหร่ ดูแลอะไรบ้าง ที่ดินเปล่า กรณีไม่มีคนอาศัย จะคิดค่าจัดการอย่างไร
และถ้า มันยังเป็นไป แบบปัจจุบันนี้ แก้ไขไม่ได้ เชื่อว่า คนรุ่นต่อไป จะไม่มีใครซื้อบ้านหรือที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร หรอก ขนาดเราก็ยังคิดจะย้ายไปอยู่ที่อื่นเหมือนกัน ซื้อที่ดิน ปลูกบ้านเอง ดีกว่า การซื้อบ้านตามหมู่บ้าน เหมือนตกอยู่ในวงจรอุบาทก์ ตอนแรกก็โดนพวกโครงการหมู่บ้านแหกตาสร้างบ้านคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ร้องเรียนก็ไม่มีใครเหลียวแล ต่อมาก็โอนถนนพังๆ สวนโทรมๆกลับมาให้ นิติฯที่สมรู้ร่วมคิดกันจัดตั้งรับไปดูแล โครงการก็เอาเงินค่าประกัน 7% จากที่ดินคืน แล้วก็หักค่าดำเนินการเกี่ยวกับการบริการสาธารณะแบบเต็มสตรีม เช่น ทั้งที่หมู่บ้านก็สร้างเสร็จไม่พร้อมกัน ภาระค่ายามกับค่าไฟฟ้า ในส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จก็ผลักมาให้หักจากค่าส่วนกลางที่หักไว้ล่วงหน้า 3 ปีทั้งหมด แล้วก็ยังเจอว่าค่ากวาดถนน เพราะมันก็ผลักมาอีก ปีละเป็นหลักแสนบาท ซึ่งที่ค่าจ้างแพงก็เพราะเล่นสร้างไปขายไป ค่าเก็บเศษวัสดุก็มามั่วอยู่ตรงนี้ด้วย ดีหน่อยที่ค่าดูแลสวนสาธารณะนี่มีการวินิจฉัยแล้วว่าทางโครงการฯต้องออกเอง เพราะมันเป็นสิ่งสนับสนุนการขาย
ต่อจากนั้นก็ต้องมาเจอ นรก นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อีก
ลาก่อน ลาที ขอลาที ขอลาไกล ไม่ซื้ออีกแล้ว หมู่บ้านจัดสรร
เข็ดจนตาย สั่งเสียไว้ว่าห้ามซื้อเด็ดขาด ให้ซื้อที่แล้วปลูกเอง ต่อให้มันไกลก็ยอม...

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 ขัดกับ กฏหมายรัฐธรรมนูญ

คิดว่าต่อไป ประเด็น ค่าส่วนกลางนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร จะกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในสังคมต่อไปอย่างแน่นอน
สังคมหมู่บ้านจัดสรร ได้แบ่งเป็น 2 ฝ่ายอย่างชัดเจน
- พวกแรกที่จ่ายคือพวกที่เข้ามาบริหารอย่างตั้งใจดี กับพวกเข้ามาหากินกับเงินส่วนกลาง (สัดส่วนเท่าไหร่ดี1ต่อ100หรือต่อล้าน?)
- พวกที่จ่ายอีกพวกคือ พวกตามน้ำ ไม่ชอบมีเรื่อง หรือชอบมีพวก หรือชอบได้รับการยกย่องจากคนพวกแรก ว่าป็นคนดีสุดๆ
- พวกที่ไม่จ่าย คือ พวกฝ่ายค้าน ชอบความโปร่งใส ชอบพึ่งพาตนเอง หรือรักสันโดษ ไม่ยอมเสียเงินที่หามาด้วยความยากลำบากให้คนอื่นไปใช้อย่างมิชอบ แค่เรื่อง ภาษี ก็มากเกินพอแล้วสำหรับประชาธิปไตย ขนาดมีฝ่ายค้าน มีหน่วยงานตรวจสอบ แล้วจะให้เชื่อได้งัยว่าประชาธิปไตย ไร้ฝ่ายค้าน ไร้คนตรวจสอบแบบ แบบนิติฯ จะไปรอด
กม.อย่าง พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 ที่เขียน โดย กรมที่ดิน (ดันหลังโดยนายทุน) เป็นที่เรารู้กันดีว่า กรมดังกล่าว มีความเอื้ออาทรต่อประชาชนเป็นที่สุด เช่นไม่เคยแย่งที่ดินทำกินของประชาชน โดยการนั่งเทียนเขียนแผนที่ ไม่เคยใช้อำนาจประกาศว่าเขตที่ดินที่มีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่ปู่ย่าตายายว่าเป็นที่ดินสาธารณะ แล้วรุก ไล่ ชาวบ้านออกไปจากที่ทำกินของตัวเอง ล่าสุด เมื่อเราร้องเรียนว่าให้ทำการตรวจสอบนิติบุคคลว่ามีการทุจริต ตั้งแต่การจัดตั้งและมีการนำเงินส่วนกลางไปใช้ส่วนตัว ก็ได้รับการประสานงานอย่างดีเยี่ยม กล่าวคือ นิ่งสนิท เหมือนโยนหินลงไปในท้องทะเล
ผลจากการเขียน กม. แบบมัดมือชก คลุมถุงชน บังคับ กม. ข้างเดียว
บังคับแต่ ปชช. แต่ ไม่กับ หน่วยงานไอติมของรัฐ 
พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 นี้จึงขัดกับ กฏหมายรัฐธรรมนูญ
ซึ่งระบุว่า กม.ไม่สามารถบังคับให้ใครเป็นสมาชิกชมรม หรือ องค์กรอิสระใดๆได้
หมายถึง เราไม่จำเป็นต้องเป็น สมาชิก ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ก็ย่อมได้
ซึ่งเป็นไปตาม กฏหมายรัฐธรรมนูญ
เคยไป Post รายละเอียดเรื่องนี้ไว้หลายที่
แต่พบว่ามันถูกตามลบไปทุกที่
ซึ่งก็แสดงว่า การขัด กฏหมายรัฐธรรมนูญ เป็นจริง
ทำให้กลุ่มคนที่เสียประโยชน์ ตามลบ
อยากให้ลองอ่านเอกสาร ตุลพาห - วารสารหรือบทความทางกฏหมาย
เป็นการตีความ กม. โดย อัยการ ระดับ ดร. ท่านหนึ่ง
ที่รวบรวมความกล้าที่จะตีแผ่ถึงความ อยุติธรรมของ กม.
สิทธิในการไม่สมาคม : ศึกษากรณีการลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดย ภชฤทธิ์ นิลสนิท
สามารถดู และ download
ได้ที่ เว็บไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม
http://elib.coj.go.th/Article/d56_2_13.pdf

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีการยกเลิก นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

-แนะนำว่า ให้ท่านสมัครเป็นกรรมการหมู่บ้าน หรือ นิติบุคคล โดยหาเสียงว่า ถ้าเราได้เป็น จะจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล จะได้เลิกเก็บค่าคุ้มครอง เอ๊ย ค่าส่วนกลาง ซะ
-หากได้เป็นประธาน ให้เลือกกรรมการ 4 คน. ทำบันทึกการประชุม  จดทะเบียนเลิก 20,000 บาท
-จดทะเบียน เลิกนิติบุคคล แล้วทำจดหมายแจ้งไปยัง เทศบาล/อบต.  ทราบว่าหมู่บ้านนี้ได้จดทะเบียนเลิกกิจการ เรียบร้อยแล้ว ขอให้ทาง เทศบาล/อบต. มาดูแลต่อ และทุกบ้านก็เหลือภาระแค่ไปจ่าย ค่าขยะ หลังละ 30-40 บาท ต่อเดือน อย่างเดียวเท่านั้น...เฮ……เป็นไทแล้วโว้ย
ส่วนไฟของถนนในหมู่บ้านไม่ต้องกลัวว่าจะดับ  ที่เป็นหลอดไฟฟ้าตามเสา รวมถึงถนน ก็เป็นหน้าที่ของรัฐคือ เทศบาล/อบต. เค้าก็จะมาดูแลให้ต่อไป...
หรือถ้ากลัวจัดมาก ว่าบ้านจะมืด หรือ ไม่มีคนดูแล ก็ให้จั๊มต่อให้เข้าไปในมิเตอร์บ้านเราเลยก็ได้ หน้าบ้านเรา เราจ่ายเองก็ได้… 
และยืนยันว่าไม่มีใครมีสิทธิ์มาตัด น้ำ ไฟ ของบ้านเรา เพราะเราได้ขอไปกับการไฟฟ้า หรือประปามาแล้ว
เลิกไปเถอะ ค่าส่วนกลางพวกที่เข้ามาเป็นกรรมการโดยมาก 99% มาหาผลประโยชน์
-ส่วนเรื่องความปลอดภัย  เป็นเรื่องของ บุญกรรม การจัดการ และการวางตัว...
ต่อให้มี ยาม มันก็ไม่ได้ช่วยรับประกันว่าขโมยจะไม่มาขึ้นบ้าน เห็นขึ้นกันสนุกเลย
หลายครั้ง ก็เสียเงินจ้างยามมาเป็นสายโจร
-ต้นไม้หน้าบ้าน เก็บไว้ดูแลตัดแต่งเอง กวาดใบไม้เอง ได้ออกกำลังกายดีออก ต้นไม้อะไรดูแลยาก เช่น ชาดัด เข็ม ต้องตัดแต่ง ก็เอาออกไปเลย เอากระถางดอกไม้สวยๆ อ่างบัว มาตั้งแทน
เหมาะอย่างยิ่งสำหรับหมู่บ้านขนาดเล็ก
แต่สำหรับหมู่บ้านขนาดใหญ่ คงต้องคิดให้รอบ เพราะปัญหาก็คือ สวนสวย สระน้ำ ทะเลสาป ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับหมู่บ้าน ลองปรึกษาดูว่าจะสามารถยกให้ เทศบาล/อบต. มาดูแลได้ไหม อาจยกให้เป็นสวนชุมชน สระน้ำชุมชน อย่าไปหวงสถานที่ ว่าเดี๋ยวจะมีคนอื่นมาใช้ หาทางดูแลมันอย่างยั่งยืนดีกว่า ยังไง สวนสวย ทะเลสาป แล้วเราก็อยู่ใกล้กว่า จริงๆจะมีซักกี่คนถ่อไปใช้ที่หมู่บ้านอื่น เห็นมีแต่หลายๆที่ ต้องทิ้งรกร้าง เพราะไม่มีปัญญาทำนุบำรุง...

นรก นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

อยากบอกกับทุกๆคนว่า ชั่วชีวิตที่เราเพียรพยายาม
มุมานะ ซื้อ"บ้าน" เพียงเพื่อ "ซุกหัวนอน"
ในยามแก่ชราภาพ และแล้ว...
สิ่งวาดฝันไว้ต้องมลายกลายเป็น
"นรก หมู่บ้านจัดสรร"
ที่ที่มี"เปรต" มากมาย
คอย ดูด สูบ เลือด เนื้อ

พวกมันกิน ค่ายาม แม่บ้าน ค่าต้นไม้
ค่าจัดงานเลี้ยง วันพ่อ วันแม่ ปีใหม่
ค่าแอร์ อุปกรณ์สำนักงาน ค่านางบำเรอ
อีกทั้งค่าบริหาร "นรก" อีกด้วย

หัวหน้า "ยมทูต" มีหน้าที่ในการ
สรุปมติที่ประชุมอันชั่วช้าสามานย์
 อาทิ
ขอเก็บค่าส่วนกลางทุกหลังเท่ากัน (บ้านยมทูตหลังใหญ่สุด)
ห้ามนำสุนัขออกมาเพ่นพ่านในที่ส่วนกลาง (ท่านยมทูตเกลียดกลัวสุนัข)
ห้ามทุกคนจอดรถหน้าบ้าน (เพราะเกะกะทางเข้าบ้านท่านยมทูต ซึ่งอยู่ด้านในสุด และบ้านท่านมีที่จอดรถหลายคัน)
ขอขึ้นค่าส่วนกลาง ครั้งที่ 3... (เพราะลูกท่านยม ต้องการใช้เงินไปเรียนต่อ ตปท.)

การลงมติ "กฏหมู่มาร" จะกระทำโดย ถามว่า ถ้าเปรต ตัวใดไม่เห็นด้วย ให้ยกมือขึ้น
ปรากฏว่า มติที่ประชุมเอกฉันท์ เนื่องจากไม่มีเปรต ตนใดยกมือไม่เห็นด้วย!
(เปรตที่คัดสรรมาเข้าประชุมนิติฯล้วนแต่เคยเป็นอดีตมิฉาชีพ และถูกลงโทษตัดแขน 2 ข้างทิ้ง)
ขอยินดีกับประชาธิปไตย ที่มีแม้แต่ใน "นรก" นี้ด้วย

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ดีๆ ก็คงมีแต่ "ในฝัน" เท่านั้น

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรบ.แบ่งแยกดินแดน 2543

มีซักกี่คนที่จะทราบว่า นับแต่มี พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 ที่ร่วมกันร่างโดยกลุ่มผลประโยชน์ เช่น เจ้าของหมู่บ้านจัดสรร สมาคมคอนโดและหมู่บ้าน มีการใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายนี้ในการสร้างอำนาจ สร้างกฏหมู่เหนือกฏหมาย ภายในชุมชนเล็กๆของตน ทำตัวราวกับว่าเป็นพระเจ้าอยู่หัว ในดินแดนนั้นๆ โดยมีทหาร (ยาม) ไว้คอยควบคุมคนที่อาศัยอยู่ ต้องอยู่กันอย่างหวาดกลัวและไร้ซึ่งอิสรภาพ มีการออกกฏห้ามไม่ให้เลี้ยงสัตว์ (ถ้าพวกกรรมการไม่เลี้ยงสัตว์) หากพบเจอสัตว์หลุดรอดออกไปก็จะจับไปส่งเทศบาลทันที หรือจะหลีกเลี่ยงประเด็นการเลี้ยงสัตว์ ถ้าพวกกรรมการเลี้ยงสัตว์ การเรียกเก็บเงินค่าผ่านทางรถกับข้าวที่เข้ามาขายของ การห้ามโทร.เรียกรถแท็กซี่ หรือ มอเตอรไซค์ เข้ามารับในหมู่บ้าน (พวกกรรมการมีรถส่วนตัว) และกฏประหลาดอื่นๆ อีกมากมาย ที่ละเมิดสิทธิ แต่สามารถตั้งเป็นกฎได้ น่าแปลกใจ ที่ไม่มีใครออกมาเรียกร้องอะไร ได้แต่ก้มหน้ารับ และคิดแต่ว่าไม่อยากมีเรื่อง
มีเรื่องที่คนพูดถึงกันมาก และน่ากลัวว่าจะถึงขั้นเป็นภัยคุกคามประเทศได้
มีที่ดินจัดสรรทำหมู่บ้านแห่งหนึ่งในย่านสมุทรปราการ มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พวกเค้าได้ออกกฏห้ามไม่ให้คนไทยเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคลของพวกเค้า ซึ่งก็น่าจะหมายรวมถึงตำรวจที่เป็นคนไทยด้วย ในพื้นที่หากยามพบว่ามีการบุกรุกก็จะใช้อาวุธได้โดยทันทีเพราะถือว่าบุกรุกอาณาเขตส่วนบุคคล มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั่วบริเวณเพื่อดูแลความปลอดภัย(หรือเพื่อสอดแนม?) หน่วยราชการหรือท้องถิ่นมีหน้าที่ดูแลแค่ส่งไฟฟ้า หรือน้ำประปาเข้าไปในพื้นที่เท่านั้น แต่ไม่สามารถล่วงรู้ถึงความเป็นไปหรือความเคลื่อนไหวภายในพื้นที่นั้นได้เลย เช่น ทุกคืนวันศุกร์ เสาร์ มีสาวสวยมากมายเข้าไปในพื้นที่ เพราะมีการจัดงานสังสรรโต้รุ่ง สิ่งใดที่ไม่กระทำได้เพราะผิดกฏหมายไทย ก็เข้าไปทำกันในภายในพื้นที่ส่วนตัวอันมีกฏหมายรองรับ เมื่อนานวันไป หมู่บ้านใหม่ก็อุบัติขึ้น เพียงมีพื้นที่ติดกัน กฏหมายก็ยินยอมให้ควบรวมหมู่บ้านให้มาบริหารควบรวมกันได้ ถ้าจะมองในแง่ร้าย ที่ต่างชาติชอบการควบรวมกิจการ (ฮุบ) ฉันใด ก็ไม่ยากที่จะคิดควบรวมพื้นที่ ให้ยิ่งใหญ่ แยกพื้นที่ แบ่งดินแดน ได้โดยไม่ต้องเป็นประชาชนของประเทศนั้นๆ ไม่ต้องแย่งกันเป็นรัฐบาลให้เหนื่อย คิดอยากเป็นใหญ่ ก็แค่ใช้ช่องการจัดตั้งนิติบุคคล มีเงินให้บริหารสบายๆ ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มี สตง. อยากทำอะไรทำ โกงได้จนวันตาย เราจะเสียดินแดน เสียอิสรภาพด้วยต้นเหตุเพียงเพราะเหล่านายทุนหมู่บ้านจัดสรรที่ไม่ยอมยกหมู่บ้านให้ท้องถิ่นดูแล แค่อยากมุบมิบเงินประกันค่าก่อสร้าง 7% และไม่อยากโดนตรวจสภาพถนน และสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานราชการหรือ อบต. หลอกคนในหมู่บ้านง่ายกว่า แค่จ่ายหัวละ 2-3 หมื่น หรือเอาใจซ่อมบ้านให้เป็นพิเศษ พวกคนเห็นแก่ได้ ก็พร้อมหลับตาตรวจรับหมู่บ้านตอนโอน แถมยังมีเหล่ามิจฉาชีพรีบมาเสนอตัวจัดตั้งเป็นกรรมการเพื่อโกงกินค่าส่วนต่าง ค่ายามกับค่ากวาดถนนทำสวน อีกเดือนละหลายหมื่นบาท โกงกันตั้งแต่หน้าบ้านเลย
อยากบอกว่าเรารัก พระเจ้าอยู่หัว ไม่อยากสูญสิ้นชาติ เสียแผ่นดิน
เดี๋ยวนี้คนเห็นแก่ตัวมันเยอะ เพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
เราจะยังคงเป็นไท มีอิสระและสิทธิได้อย่างไร
ตราบที่นายทุนยังเป็นคนเขียนกฏหมาย เอื้อให้สามารถออกกฏหมู่มารในหมู่บ้านได้เอง
อยากวอน ให้พ่อช่วยลูกด้วย ลูกจนปัญญาแล้ว...
แม้ว่าลูกเคยคิดจะไปจากแผ่นดินของพ่อหลายครั้ง
แต่ด้วยความรักและผูกพันที่มีต่อพ่อ
ลูกขอใช้ชีวิตสนองพระคุณพ่อ
ช่วยดูแลแผ่นดินของพ่อ ด้วยสองมือเล็กๆ
ตราบจนสิ้นลมหายใจ...บุษยา ตั้งใจดี

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ส่วย ค่าส่วนกลาง นิติบุคคลหมูบ้านจัดสรร

มีใครเห็นด้วยบ้างหละ
ก็ช่วย "ชูมือ" เห็นด้วยกับการยกให้ รัฐ ดูแล
ขอบอกว่า
"เป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ"
แล้วก็ยินดีช่วยออกค่าใช้จ่าย เพิ่ม
หากมันเป็นภาระมากเกินไปสำหรับรัฐ
เก็บแบบ ค่าเก็บขยะ ค่าดูดส้วม งัยคะ

เพราะ พอเป็น นิติฯ มันมีปัญหาเรื่องโกงกิน
เอาเงินส่วนกลาง-ที่ไม่มีการตรวจสอบ ไปใช้
เอาเงินแล้ว ยังใช้ แม่บ้าน และยาม ส่วนตัว
หรือ เอื้อเฉพาะในกลุ่มพวกพ้อง

เป็นกรรมการมีเงินเดือนใช้สบายๆ
โดยไม่ต้องทำอะไรมาก
แค่นอนอยู่บ้าน
แล้วออกไปเก็บเงิน กับประชุมเดือนละครั้ง
แสนสบาย

ไอ้ที่ คิด หวัง ให้ดูแลสาธารณูปโภคกันเอง
ก็ทำได้แค่  กวาดใบไม้ กับ จ้างยาม
แต่พองานใหญ่แบบตัดต้นไม้ รอกท่อ ซ่อมถนน
นิติฯ ก็ไม่มีปัญญาอยู่ดี โดยอ้างว่ามีงบไม่พอ
เลยไปขอให้ อบต. มาทำให้ฟรี

จะมีงบเชียว ก็ตอนจัดปีใหม่ จัดเลี้ยง ประดับไฟ
ตกแต่งหน้าหมู่บ้าน ทำมันแค่ประมาณนี้
แบบกลัวหาว่าไม่มีผลงาน

หากหมู่บ้าน เรามี นิติฯ ก็เหมือนมี นักเลง คุมซอย
เก็บค่าคุ้มครอง ทุก เดือน ทั้งที่ก็ มีตำรวจ หรือ อบต.
ดูแลอยู่แล้ว ซ้ำซ้อน นอนกินค่าหัวคิว สบายเหมือนได้ บำนาญ

ไอ้ที่กลัวว่า ทรัพย์สินส่วนกลาง มันจะมีคนมาใช้ประโยชน์ หนะ
หากยกให้ รัฐ ก็เขียนข้อตกลง ตอนส่งมอบ ชัดๆ
ทำเป็นหลักฐาน ให้ทุกบ้านเป็นพยาน และเก็บไว้ทุกหลังสิคะ
ปรึกษา ทนาย หรือนักกฎหมาย สิทธิมนุษยชน ไว้เลย ว่าต้องเก็บหลักฐานอะไรบ้าง

ตอนนี้ ถนน ที่ห่วง ว่าจะมีคนมาตั้งหาบเร่ แผงลอย
(กลัวกันเว้อๆ นั่นหนะ หมู่บ้าน ทั้งลึก ทั้งไกล ใครจะมาตั้งแผง
คนในหมู่บ้านก็คงไม่หน้าหนาขนาดนั่นมังคะ
ไม่ใช่ที่ดินแถว สีลม ซะหน่อย กลัวหรือคิดมากเกินไป มังคะ) 

และไม่ทันไร ถนนก็พังแล้ว แต่อบต. เค้าก็เข้ามามาดูแลให้ไม่ได้
เพราะ หมู่บ้าน ที่มี นิติฯ กม. ระบุให้ ดูแลตัวเอง
หาก นิติฯ ไม่ไปขอความอนุเคราะห์ จาก อบต. อบต.ก็มายุ่งไม่ได้
นิติฯ ก็ได้ที อ้าง โน่น นี่ แล้วก็ขอเก็บค่าคุ้มครองรายเดือนเพิ่มขึ้น
นานไป มันคงแพงจนเกือบเท่าค่าผ่อนบ้าน
คนบางคน เค้าก็ยอมจ่าย เพื่อตัดรำคาญ
ไม่ได้สนใจว่ามันแพงเกินไป ไม่สมกับบริการที่ได้เลย
มานั่งคิด เออ นี่เรา ทำตัวเองแท้ๆเลย
ตั้ง นิติฯ มาสูบเลือดเนื้อตัวเองแท้ๆเลย
นี่ถ้ายกให้ อบต.ไปซะก็สิ้นเรื่องแล้ว
โชคไม่ดีที่เราย้อนเวลาไม่ได้ ต้องตกเป็น "ทาส" มันแล้วกระมัง

สลดใจ รู้สึก เหมือนเรา ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้าน อย่างแท้จริงเลย
นี่ก็ใกล้สิ้นเดือนอีกแล้ว ในขณะที่เงินเดือนก็ไม่ขึ้นมา 3 ปีแล้ว อาหารแพงขึ้นราว 20% ค่าเดินทาง 40%
เดี๋ยว มันก็มาเก็บ ส่วย ค่าส่วนกลางงงงงงง อีกแล้ว
จาก 700 ก็ขึ้นมาเป็น 900 บาท และมีแนวโน้มจะขึ้นเป็น 1000 โอ๊ย อยากหนี ไปบวชอยู่วัด แล้วหละ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

หมู่บ้านจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เพราะ พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543

การแก้ไข พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 คือทางออก หรือไม่
คิดว่า การออกกฏหมาย การจัดการหมู่บ้าน ในลักษณะนี้
ไม่เหมาะกับสังคมไทย ที่เป็นสังคมแนวรัฐอุปถัมภ์ ต่างคนต่างอยู่
มีความเป็นตัวของตนเองสูง อีกทั้งยังไม่ค่อยได้ฝึกการร่วมมือทำงาน
หรือที่เค้าเรียกว่าทำงานกลุ่มไม่เป็นนั่นเอง ด้านหนึ่งการออกกฏหมายนั่นเหมือนหวังดี
แต่อีกด้านมันกลับเลวร้าย การเมืองระดับประเทศ มีผู้แสวงหาผลประโยชน์ฉันใด
ในวงกลุ่มคนเล็กๆอย่างหมู่บ้าน ก็ไม่อาจหนีปัญหาแบบเดียวกันไปได้
เงินนั่นเอง หากไม่มีเงินให้ใช้ได้ง่ายสนุกมือ การมาทำงานต้องเสียสละจริงๆ
ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ แอบแผง คนดีๆ ก็จะกล้ามาทำ ตอนนี้กลายเป็นว่า
คนดี ไม่มีมาทำนิติบุคคล เพราะเค้ารู้ว่ามันเสี่ยงกับการเสื่อมเสีย
โลกปัจจุบันก็ไม่ค่อยไว้ใจกัน คนที่มาเสนอตัวทำ เลยมีเหลือ 2 พวก
คือพวกโดนชักจูง หลอกให้มาทำ และพวกจงใจมา
พวกโดนชักจูง จะรู้ตัวก็เหมือนจะสายไปเสียแล้ว หลักฐานที่โดนหลอกให้เซ็นไป
เป็นตัวประกันทำให้ต้องจำใจ ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น และไม่ร่วมมือใดๆในการให้ข้อมูล
เพราะกลัวตัวเองเดือดร้อน
พวกจงใจ ก็จะทำตัวเหมือนผู้ล่า(เงิน)ที่หิวกระหาย พร้อมตะครุบเหยื่อที่ไม่สามารถอยู่รวมกลุ่มได้
สังเวยความตายไปทีละตัว อย่างเหี้ยมโหด

ต้องอธิบายก่อนว่าไม่ได้มีความคิดที่ต้องการผลักให้รัฐอุปถัมภ์แบบโยนภาระไปให้เต็มๆ
แบบที่มีใครว่า มาอ้างไม่อยากจ่ายเพราะจ่ายภาษีแล้ว ทำไมยังต้องมาจ่ายค่าส่วนกลางอีก
แต่เข้าใจในสังคม ค่านิยมและความเป็นคนไทย ชอบรัฐอุปถัมภ์
ลองดูข่าวภัยพิบัติสิคะ ก็จะพบว่า ทั้ง ไทย ญี่ปุ่น ก็เป็นสังคม รัฐอุปถัมภ์
ก็แบบว่าเราชอบมีคนดูแล มันเป็นสังคมสืบถอดมาจากระบบกษัตริย์ปกครอง
ที่มีการดูแลอนาราษฎร ดุจดั่งลูกหลาน มันอบอุ่นใจดี
ต่างจากที่เวลาฝรั่งบ้านพัง เค้าก็ไปเคลมบริษัทประกัน รัฐไม่ได้มาสร้างให้
แต่ระบบบริษัทประกันประเทศเรา ก็รู้ๆกันอยู่ว่ามันแปลกๆ โน่น นี่ นั่น
ก็ยกเว้น เช่น ไม่รวมภัยภิบัติ การจลาจล อุบัติเหตุไม่รวมขี่มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ
จนไม่รู้ว่าจะทำประกันภัยไปเพื่ออะไร
เวลาโชคร้าย เหมือนเล่นหวยงัยยังงั้น ต้องเข้าข่ายความคุ้มครอง
ไม่งั้น ก็โชค (ร้าย) 2 ชั้น เคลมไม่ได้ซะงั้น
 
อย่างเคสดูแลหมู่บ้าน ก็ให้รัฐอุปถัมภ์ (ช่วยกรุณาทำให้หน่อย ทำเองมันล่ม มันเละ)
และก็จะช่วยจ่ายเพิ่มดีกว่าไหม เพราะก็เข้าใจนะว่า เมื่อได้บริการเพิ่มก็ต้องจ่ายเพิ่ม
รัฐหาทางจัดการให้ทีได้ไหม อย่าปล่อยให้มาทะเลาะเบาะแว้งกันในสังคมชุมชนที่อยู่อาศัยอีกเลย
ปกติก็แทบไม่รู้จักกันแล้วยังเกลียดขี้หน้ากันอีก จะแบ่งข้าง แล้วเอาเสื้อสีแดงกับเหลือง มาใส่แล้วปาระเบิดใส่กันอยู่แล้ว ประชุมทีไรก็ทะเลาะกัน ชี้หน้าด่าทอกัน เสร็จก็ไปงุบงิบประชุมย่อย
ในกลุ่มกรรมการแล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันอีก เบื่อ จนไม่มีคนอยากเข้าประชุม ไม่รู้ทำงัย
เลยจำเป็นต้อง make รายงานการประชุม ปลอมลายเซ็น ยัดมติที่ไม่ได้ประชุมไว้ในรายงาน
แล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันอีก (วน) เบื่อ จนไม่มีคนอยากเข้าประชุม
ท้ายที่สุด(จริงๆ)ทั้งหมู่บ้านเหลือคนทำอยู่ 2 คน คือประธานกับเหรัญญืก
แล้วหมู่บ้านจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เวลาขับรถผ่านก็ทำเป็นมองไม่เห็นกัน(ล่องหน)

การให้รัฐจัดการ บางคนก็กลัวว่ามันจะมีการโกงกิน มันก็เป็นอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ
มีทั้งที่ดีผสมไม่ดี (สีเทาๆ) แต่ยังดีที่มันเป็นหน่วยงานภาครัฐ มันก็ยังถูกตรวจสอบได้ง่ายกว่า
พอเป็นนิติบุคคลกำมะลอ เอกสารอะไรก็มุบมิบ บัญชีก็มั่วๆ
เพราะตามกฎหมายนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่ต้องยื่นภาษี
แถม สนง.ที่ดิน ที่เค้าได้รับมอบอำนาจให้มาดูแลก็ไม่ใช่นักบัญชี
ได้รับหน้าที่มาแต่ไม่ถนัด เค้าก็เลยไม่ได้ทำ (เห็นใจนะ ไม่ได้ว่า)
ก็มันส์หละค่ะพี่น้อง
อยากรู้จังว่า พรบ.ที่ดิน นี้
ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษาจบอะไร และจบจากที่ไหน
หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าท่านไม่ได้จบในประเทศ
หรือเคยอาศัยในประเทศไทยมาก่อน
เลยเขียน กม. ที่ดูดี แต่ปฏิบัติได้ยากยิ่งเช่นนี้...

สงสารคนอาศัยตามหมู่บ้าน
ทำงานหาเงินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ไปวันๆ
เบื่อเจ้านาย เกลียดขี้หน้าเพื่อนร่วมงาน
แล้วยังต้องมารบกับ คณะกรรมการนิติฯ ที่หมู่บ้านอีก

เรียกอะไรดี พรบ. 2543
พรบ.ปอกลอก
พรบ.หัวคิว
พรบ.แตกแยก
พรบ.ในฝัน (ทำจริงไม่ได้)
พรบ.สะดวกฉ้อโกง (หน้าบ้านเราเลย)

เบื่อจริงๆ
อยากไปตะโกนบอกความในใจ
ต่อ คณะกรรมการ ผู้ร่าง พรบ. นี้
ว่า ขอท่านจงเจริญ ขอท่านจงเจริญ!
ตายไปขอให้ได้ไปสวรรค์ ที่มี
พรบ.จัดสรรพื้นที่สวรรค์
ต้องนำของ เช่น ของเซ่นไหว้ หรือบุญกุศลที่มี
ไปเป็นค่าอาศัยอยู่บนสวรรค์
ขอให้มันแพงแสนแพง 50%
ของ ของที่ได้รับส่งบุญมาให้
จนตอนหลังไม่มีปัญญาจ่ายเลยต้อง
ถูกเตะออกมาจากสวรรค์
ให้ไปเกิดใหม่ หรือไปนรกเลย สาธุ
โอ แรงไปไหมนี่....