หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปลดแอกประชาชน จาก พรบ.หัวคิว 2543

คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรกำมะลอ ดีแต่ขอความช่วยเหลือจาก อบต.
แล้วนอนกินนั่งกินค่าหัวคิว

จริงหรือนี่ที่ว่า จะได้ดูแลกันเอง โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐ

แถมสุดท้ายประธาน กับกรรมการนิติฯ ก็จะไปลงรับสมัคร อบต. เพื่อจะได้รับเงิน 2 ทาง ฉลาดมาก นับถือจริงๆ

ตัวอย่างรายงานการประชุม
คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งหนึ่ง
วาระที่ 1 วาระประธานนิติบุคคลหมู่บ้านฯ แจ้งเพื่อทราบและพิจารณาเพื่อมีมติรับรอง
นาย X ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน ฯ แจ้งเรื่องเพื่อทราบต่อที่ประชุม ดังนี้
1.ถนนทางเข้า ออก ของหมู่บ้านABC ของเราที่ผ่านมาในช่วงฤดูฝนมีปัญหามากเช่นบริเวณหน้าป้อมยามเมื่อฝนตกน้ำก็จะท่วมขังสูงกว่า 10 เซนติเมตร กว่าจะแห้งต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง เนื่องจากมีการสร้างถนน และพื้นที่ด้านข้างได้ถมที่สูงกว่าระดับทางเข้าหมู่บ้านได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านและบุคคลอื่นที่สัญจรผ่านไปมาจำนวนมาก และถนนทางเข้า ออก ตั้งแต่หลังป้อมยามถึงตู้รับเรื่องเสนอแนะ/ร้องเรียน ได้ทรุดตัวแตกตรงกลางถนนเวลาฝนตกทาให้น้ำไหลลงตรงรอยแตกแล้วได้กัดเซาะทรายและดินใต้ถนนทำให้ถนนยุบตัวลงตลอดเวลาเมื่อมีฝนตกและรถวิ่งไปมา
แต่เนื่องจากการซ่อมแซมถนนที่เสียหายทั้งหมดต้องใช้เงินจานวนมาก และเงินกองทุนหรือเงินที่เราจัดเก็บเงินค่าส่วนกลางจากสมาชิกหมู่บ้านในแต่ละเดือนมีไม่เพียงพอให้การซ่อมแซม จึงได้ขอความอนุเคราะห์ไปที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา” (อบต.) อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพื่อสนับสนุนเงินงบประมาณในการซ่อมแซมถนนบริเวณดังกล่าว เพื่อเป็นการบำบัดทุกข์บารุงสุข ให้กับประชาชนในหมู่ 7 ตำบลบางรักพัฒนา และบุคคลอื่นที่สัญจรผ่านไปมา ให้สะดวกและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
จึงนำเรื่องนี้มาแจ้งให้ที่ประชุมของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรABC เพื่อทราบและพิจารณามีมติรับรอง เพื่ออนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา”(อบต.) เข้ามาสนับสนุนเงินงบประมาณและทำการซ่อมแซมถนนที่เสียหาย
· ที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรABC มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองและอนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตาบลบางรักพัฒนา”(อบต.)เข้ามาดำเนินการซ่อมแซมถนนบริเวณดังกล่าวเพื่อเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับประชาชนในหมู่ 7 บางรักพัฒนา และบุคคลอื่นที่สัญจรผ่านไปมา

2. งานทำบุญ (หรือถลุงเงิน) ประจำปีของหมู่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคลต่อผู้ที่มาร่วมงานและหมู่บ้านของเรา ซึ่งเราได้จัดขึ้นทุกปีติดต่อกันมา ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ส่วนปีนี้จะจัดขึ้นวันไหนและพิธีการเป็นอย่างไร ขอให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาด้วย เพื่อที่จะได้จัดเตรียมงานและจะได้มอบหมายให้แต่ละท่านรับผิดชอบเป็นเรื่องๆ ไป
· ที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรABC มีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดงานทำบุญประจำปีของหมู่บ้านในวันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม 2553 ส่วนพิธีการต่างๆจัดเหมือนทุกปีที่ผ่านมา

2.1 นายX ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน ฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่าเมื่อที่ประชุมมีมติให้จัดงานทำบุญประจำปีและได้กำหนดวันแล้ว ควรจะแต่งตั้งผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายไปเลย เพราะจะได้เตรียมตัวเมื่อถึงวันงานจะไม่ยุ่ง
...
ให้ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์งานทาบุญหลังงานลอยกระทงเสร็จแล้ว และให้เจ้าหน้าที่นิติบุคคลพิมพ์ซองทำบุญ และ จดหมายเชิญร่วมทำบุญ แจกให้กับสมาชิกหมู่บ้านทราบด้วย ส่วนท่านใดจะเชิญแขกผู้ใหญ่นอกหมู่บ้านขอให้แจ้งชื่อมาด้วย โดยงบประมาณการจัดงานประมาณ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)หักค่าใช้จ่าย (อย่างสนุกมือ) แล้วค่อยนำส่งคืน
3. การลงสมัครสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา (อบต.) ซึ่งจะมีการรับสมัครเลือกตั้งประมาณเดือนตุลาคม 2554
นายX ประธานนิติบุคคลหมู่บ้านฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตามที่บางท่านได้รับทราบข่าวมาบ้างแล้วเกี่ยวกับที่ตนจะลงรับสมัครรับเลือกตั้งคู่กับนายY หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์วันนี้ขอแจ้งต่อที่ประชุมว่าเพื่อให้ทุกท่านจะได้เข้าใจให้ตรงกันในเหตุผลที่จะลงทางานการเมืองท้องถิ่น ก่อนที่ตนจะประกาศตัวลงสมัครเป็นทางการขอแจ้งและขออนุญาตจากที่ประชุมรับทราบก่อน เพราะต้องให้เกียรติต่อกรรมการนิติบุคคลฯ ทุกท่านที่ร่วมทางานกันมาหลายปี
เมื่อเกือบๆสี่ปีก่อนที่มีการเลือกตั้ง อบต. ก็มีกลุ่มการเมืองได้มาติดต่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง อบต. แต่ว่าขณะนั้นตนยังไม่มีความพร้อมจึงไม่ลง และมีกรรมการหมู่บ้านของเราลงสมัครรับเลือกตั้ง อบต จำนวน 3 ท่านคือ
1.นายZ หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภค
2. นายY หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมพิเศษ
3. นายO หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสานักงาน
3.1 เหตุผลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา (อบต.) ก็เพื่อที่จะได้นาความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่มีอยู่ช่วยพัฒนาให้ตำบลบางรักพัฒนา และหมู่บ้านของเราให้มีความเจริญยิ่งขึ้นไป และสิ่งที่สาคัญที่สุดที่เป็นแรงจูงใจให้ลง อบต. เพราะต้องการงบประมาณ (อันโอชะ) ของหน่วยงานต่างๆ ของทางราชการเพื่อนามาพัฒนาหมู่บ้านของเรา (ซะเมื่อไหร่)หลายๆ ท่าน คงจะเห็นแล้วว่าต่อจากนี้ไปหมู่บ้านของเราจะต้องมีการปรับปรุงและซ่อมแซมสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในหมู่บ้านของจำนวนมาก (โอ๊ย หวาน เอิ้กๆๆ) เช่น
1.ถนนภายในหมู่บ้านเกือบทั้งหมดมีการทรุดตัวแตกเสียหาย
2.ขอบบ่อท่อน้ำทิ้งและท่อระบายน้ำมีการชำรุดทรุดตัวหลายจุด
3.บ่อหน่วงน้ำที่สวนสาธารณะกลางหมู่บ้านตื้นเขินทำให้น้ำในท่อระบ่ายไหลไม่สะดวกและมีกลิ่นเหม็น
4. บ่อบำบัดน้ำเสียท้ายหมู่บ้านที่ชารุดจะต้องมีการปรับปรุง และโครงการสาธารณะอื่นๆ อีกหลายโครงการ
5. งานบริการสาธารณะภายในชุมชน ที่ผ่านมามีการส่งเสริมไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร
ซึ่งแต่ละโครงการจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเข้ามาดำเนินการ ที่ผ่านมาทุกท่านคงทราบแล้วว่า สโลแกนของประธานนิติบุคคลฯ เมื่อจะดาเนินการโครงการอะไร คือ ต้องถูก ดี และเป็นของฟรี (แต่มีค่านายหน้า) ให้สมาชิกหมู่บ้านได้ประโยชน์สูงสุดโดยไม่ต้องใช้เงินของหมู่บ้าน ซึ่งมีผลงานต่างๆหลายโครงการที่เราได้ร่วมกันทำมา ต่อไปถ้าเราได้งบประมาณภายนอก มาดำเนินการซ่อมแซมสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ ภายในหมู่บ้านเงินค่าส่วนกลางหมู่บ้านเราก็ไม่มีการปรับขึ้น (โอ๊ย เข้ากระเป๋าเนื้อๆ) และถ้าตนกับนายY ได้ไปทางานร่วมกันใน อบต. ก็สามารถแสวงหา (อ้อ ยักยอก) งบประมาณ และร่วมกันผลักดันโครงการต่างๆ ได้ (กินกันอีกนาน)
3.2 การตัดสินใจลงทีมนายW นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักพัฒนา ซึ่งมีหลายคนได้สอบถามมา
- นายX ประธานนิติบุคคลฯ ว่าทำไมตัดสินใจลงทีมนายกW คู่กับนายY หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ ทำไมไม่อยู่ทีม นายK ซึ่งได้ติดต่อมาให้ลงคู่กับนายJ มีเหตุผล ดังนี้
1.ที่ลงคู่กับY เพราะเราได้ทำงานเพื่อสังคมและหมู่บ้านเราร่วมกันมาตั้งแต่ ปี 2545 (รู้ทางกันดี)
จนถึงปัจจุบันถ้าไปลงฝั่งตรงข้ามหรือลงอิสระเราต้องแข่งขันตัดคะแนนกันเอง และจะทำให้ผิดใจกันได้ ถ้าเราได้ทำงานร่วมกันจะสามารถพัฒนาหมู่บ้านของเรา ได้คล่องตัว (ทางสะดวกโยธี) และประสบผลสำเร็จดีกว่า
2. ที่ไม่ลงคู่กับนายK เพราะที่ผ่านมาไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน หรือเมื่อหมู่บ้านของเราได้จัดกิจกรรมใดๆ ขึ้นเขาไม่ค่อยให้ความร่วมมือใดๆ เลย มีหนังสือเชิญทุกครั้งไม่เคยมาร่วมงานหรือเมื่อมีกิจกรรมใดๆ นอกหมู่บ้านไม่เคยแจ้งให้คณะกรรมการนิติบุคคลฯ ทราบหรือแจ้งให้สมาชิกหมู่บ้านของเราได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง เขาจะเอาเพียงแต่เฉพาะกลุ่มของตนมีไม่กี่คนเท่านั้น (เล่นพวกกันนั่นเอง)
3.3 การเลือกตั้งจะมีขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายน 2554 ทำไมเปิดตัวก่อนเวลานานมาก
-นายX ประธานนิติบุคคลฯ แจ้งต่อที่ประชุมว่าที่ตนได้เปิดตัวก่อนเกือบปีเพราะตนเป็นคนที่ตัดสินใจแล้วไม่มีลังเลใจ โดยได้ยึดเอาผลประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะดำเนินการในเรื่องใดทุกท่านคงทราบดีว่าที่ผ่านมาตนในการบริหารงานในหมู่บ้านก็ได้บริหารจัดการอย่างจริงจังและซื่อตรง (ซะเมื่อไหร่) วันนี้จึงนำเรื่องมาแจ้งให้ทุกท่านรับทราบ
· ที่ประชุมรับทราบ (ขอท่านประธาน เอ๊ย ว่าที่นายก อบต.จงเจริญ)

4. สรุปบัญชีรายรับ-รายจ่าย เนื่องจากใกล้สิ้นปีแล้ว จะต้องส่งเอกสารทางบัญชีประจาปี 2553 ให้แก่ผู้ตรวจสอบบัญชีเพื่อตรวจสอบ ดังนั้นจึงขอให้ทางเหรัญญิกและเจ้าหน้าที่ช่วยรีบสรุปบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้เรียบร้อยก่อนการประชุมครั้งต่อไป เนื่องจากจะต้องนาส่งผู้ตรวจสอบบัญชีก่อนวันที่ 9 มกราคม 2553
วาระที่ 2 วาระสืบเนื่องจากที่ประชุมครั้งที่ผ่านมา
1. โครงหลังคาอเนกประสงค์ ขณะนี้โครงการดังกล่าวกำลังรอเงินงบประมาณจากรัฐบาล โอนมาที่ อบต. คาดว่าจะเงินดังกล่าวจะออกประมาณเดือน มกราคม 2554 นี้ (ขอ อบต. จงเจริ๊ญ อีกครั้ง)
· ที่ประชุมรับทราบ

ข้อคิด: สงสัยว่า แล้วพวกกรู จะมีมึง ไว้ทำไม

2. แบบสอบถามความคิดเห็น จากการที่ได้ตอบรับกลับมาจากสมาชิกหมู่บ้าน จำนวน 150 ชุดนั้น ส่วนใหญ่ที่ได้แสดงความคิดเห็นเสนอแนะและร้องเรียนมากที่สุดเรียงเป็นอันดับคือ
1.เรื่องการเลี้ยงสุนัข เช่นการปล่อยออกมาขับถ่ายในพื้นที่ส่วนกลางและส่งเสียงดังรบกวนเวลา
พักผ่อน
· ที่ประชุมให้กรรมการแต่ละกลุ่มตรวจสอบในกลุ่มของตนว่า บ้านไหนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงสุนัขให้ไปแจ้งเตือนตามขั้นตอนก่อนส่งหนังสือเตือน

2.การจอดรถในพื้นที่ส่วนกลาง จอดขวางทางเข้าบ้านหรือไม่เอาเข้าบ้านหรือมีรถหลายคัน
· ที่ประชุมให้กรรมการแต่ละกลุ่มแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของแต่ละกลุ่มเอง และให้มีการติดหมายเลขโทรศัพท์ของกรรมการแต่ละท่านที่ป้ายชื่อหน้าบ้านกรรมการด้วย

2.1 วิธีการรับสมัครหรือคัดเลือกคณะกรรมการนิติบุคคลฯ ชุดใหม่ ซึ่งเสียงส่วนใหญ่ให้มีเท่าเดิม
- นายZ หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภค เสนอต่อที่ประชุมว่าให้มีการรับสมัครเลือกตั้งเหมือนกับ ส.ส. แล้วให้กรรมการทุกท่านที่จะอยู่ทางานต่อต้องเขียนใบสมัครทุกคน ส่วนวิธีการลงคะแนนแบบไหนให้ดูจำนวนของผู้สมัครก่อน
· ที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรABC มีมติเป็นเอกฉันท์ให้มีการเลือกตั้งกรรมการตามที่นายZ เสนอ
ให้ขึ้นป้ายประชาสัมพันธ์การรับสมัครคณะกรรมการนิติบุคคลฯ หลังจากงานลอยกระทง  (ราคาเท่าไหร่ไม่ยักบอก)

2.2 รายงานการประชุมใหญ่สามัญประจาปี 2553 จะจัดพิมพ์ประมาณ 300 ชุด เพื่อแจกให้เฉพาะผู้ที่เข้าร่วมประชุมใหญ่สามัญประจาปี 2554 เท่านั้น
· ที่ประชุมรับทราบ

3. การฟ้องร้องบ้านค้างชำระเงินค่าบารุงรักษา และจัดการสาธารณูปโภค (ค่าส่วนกลาง) เกิน 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) (หัวข้อโปรดปรานของเหล่ากระสือหมู่บ้าน)
3.1 บ้านที่ดำเนินการฟ้องร้องไปแล้ว หากมีสมาชิกหมู่บ้านท่านใดที่ได้ดาเนินการฟ้องร้องไปแล้วนั้น เข้ามาติดต่อขอประนอมหนี้ ณ สานักงานนิติบุคคล ฯ นั้นไม่สามารถทำได้เนื่องจากได้ดาเนินการฟ้องร้องไปแล้ว ฉะนั้นจะต้องไปประนอมหนี้ดังกล่าวได้ที่ศาลเท่านั้น และคดีดังกล่าวไม่สามารกยกฟ้องได้ เพราะหากเกิดกรณีผิดนัดชำระ ทางเราสามารถบังคับคดี ให้ทางจำเลยชาระหนี้ตามที่คดีพิพากษา และต้องติดต่อที่ศาลเท่านั้น
3.2 บ้านที่ยังไม่ได้ฟ้องร้อง เนื่องจากคดีดังกล่าวเป็นคดีผู้บริโภค ศาลกาหนดให้ดำเนินการฟ้องร้องได้ 2 กรณี คือ1. ฟ้องตามภูมิลำเนาของจำเลย 2. ฟ้องตามที่มูลคดีเกิด
แต่เนื่องจากผู้ที่ค้างชาระค่าส่วนกลางอีก จำนวน 4 คน มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตศาลต่างจังหวัดตนจึงไม่สามารถฟ้องคดีต่อศาลที่มูลคดีเกิดได้ จำเป็นต้องฟ้องตามภูมิลำเนา
· ที่ประชุมรับทราบ และขอให้นายK สานักงานกฎหมายและทนายความนนท์ ระงับการดำเนินคดีต่างจังหวัดไว้ก่อน (เพราะขี้เกียจไปขึ้นศาลไกลๆ)

4. ชมรมแอโรบิค ขณะนี้ได้รอทางชมรมแอโรบิคคัดเลือกกรรมการชุดใหม่เข้ามาก่อน แล้วทางคณะกรรมการนิติบุคคลค่อยพิจาณาเซ็นขออนุมัติงบประมาณปี 2554 ให้ (รอไว้มีอารมณ์ก่อน)
· ที่ประชุมรับทราบ

5. เครื่องบันทึกเสียงหาย ตามที่ นายZ หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภค ได้ขอยืมเครื่องบันทึกเสียงไป และได้ทำหาย (น่ารักมาก) ทางด้านนายZ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า จะซื้อเครื่องบันทึกเสียงมาคืนให้ ในวงเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) แต่บัดนี้ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ
· ที่ประชุมมีมติให้นายZ จัดซื้อเครื่องบันทึกเสียงคืนให้กับนิติบุคคลในวงเงิน 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) โดยให้ประสานงานกับฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและสำนักงาน

6. เครื่องตั้งเวลาเปิด-ปิด วิทยุเสีย ไม่สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด เพลงชาติในช่วงเช้าและเย็นได้ ที่ส่งเครื่องไปซ่อมแล้วนั้น ขณะนี้ได้ส่งกลับคืนมาที่สานักงานนิติบุคคลฯ เรียบร้อยแล้ว และได้ดำเนินการเปิด ปิด เพลงชาติได้ตามปกติ
· ที่ประชุมรับทราบ

7. เครื่องสูบน้ำรดน้าต้นไม้เสีย บริเวณสวนสาธารณะ ที่ประชุมที่ผ่านมาได้อนุมัติให้จัดซ่อมแซมและติดตั้ง
อุปกรณ์ กันขยะเข้าเครื่องแล้ว ขณะนี้ฝ่ายที่รับผิดชอบยังไม่ได้ดำเนินการ
- นายE ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดฯ ผู้รับผิดชอบแจ้งต่อที่ประชุมว่า อยู่ในระหว่างติดต่อกับทางนาย ล. ผู้รับเหมาก่อสร้างให้มาดำเนินการซ่อมแซม โดยมีรูปแบบในการดำเนินการ และวงเงินที่ใช้ดำเนินการทั้งหมด จานวน 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)
· ที่ประชุมรับทราบ

8. เครื่องบำบัดน้ำ (นี่ก็) เสีย บริเวณท้ายหมู่บ้าน นายX ประธานคณะกรรมการนิติบุคคลฯ ได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า เครื่องบำบัดน้ำเสีย บริเวณท้ายหมู่บ้าน ที่บำบัดน้ำเสียทั้งหมู่บ้านก่อนปล่อยลงคลองบางไผ่ ขณะนี้เครื่องไฟฟ้าขัดข้องใช้งานไม่ได้มากว่า 6 เดือนแล้ว (ทำให้ต้องปล่อยน้ำเสียมากว่า 6 เดือน)
- นายS ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ขณะนี้เครื่องบำบัดน้ำเสีย ตนได้ดำเนินการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว (วงเงินที่ใช้ดำเนินการทั้งหมด ไม่บอก) และได้ให้ทางคนงานกวาดถนนเปิด-ปิด เครื่องบำบัดน้ำเสียในช่วงเที่ยงของวันจันทร์ทุกครั้ง โดยให้เดินเครื่องประมาณ 15-30 นาที (เปิดแค่นี้พอเหรอคะ)
· ที่ประชุมรับทราบ

9. ต้นไม้บริเวณสวนสาธารณะที่มีความสูง ขณะนี้ยังไม่ได้ดำเนินการ
- นายA ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดฯ แจ้งว่าตามที่นายZ หัวหน้าฝ่ายสาธารณูปโภค ได้รับงานไปดำเนินการ ได้แจ้งมาว่าขณะนี้ไม่ว่างเนื่องจากต้องดูแลป้องกันน้ำท่วม (แบบยุ่งมากกๆ)
· ที่ประชุมรับทราบ แล้วให้ดาเนินการโดยด่วนถ้านายZ ไม่ว่าง (หรือไม่มีปัญญา) ให้ประสานงานกับนายYเพื่อขอความอนุเคราะห์ ต่อ อบต. เข้ามาดำเนินการ (อีกซักหนึ่งเรื่อง)

วาระที่ 3 วาระรายงานการบัญชีการเงิน รายรับ-รายจ่าย
มีที่แปลกตา เช่น
**ค่าตอบแทนการจัดเก็บค่าส่วนกลาง สำหรับกรรมการ (มีคอมมิสชั่นนี่เอง ก็เลยขยันเก็บ)
**ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ (มิน่าถึงได้ขยันประชุมกันนัก เดือนละครั้งสองครั้ง ไม่มีบ่น)

นี่แค่เศษเสี้ยวของการหมกเม็ด ไว้มีอะไรเด็ดๆ จะมาให้ดูเพิ่มอีก 

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

สิทธิในการไม่สมาคม : ศึกษากรณีการลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

สามารถดู และ download

สิทธิในการไม่สมาคม : ศึกษากรณีการลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
โดย ภชฤทธิ์ นิลสนิท

ได้ที่ เว็บไซต์ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ศาลยุติธรรม
http://elib.coj.go.th/Article/d56_2_13.pdf

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา#4 คนซื้อบ้านเซ็ง-ทำไงดีกับ-นิติบุคคล-เจ้าปัญหา


มีหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่อยู่แถวริมถนนปทุมธานี-เสนา เขตจังหวัดปทุมธานี เจ้าของโครงการดีมาก เมื่อจะเลิกโครงการก็ได้ดำเนินการให้ผู้ซื้อรายย่อยได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลฯ จนสำเร็จ โดยบริษัทเจ้าของโครงการได้ว่าจ้างบริษัทมืออาชีพด้านกฎหมายมาช่วยเป็นพี่เลี้ยงจนเสร็จสิ้น และบริษัทเจ้าของโครงการยังได้มอบทรัพย์สินทุกอย่างภายในโครงการในสภาพที่ดีให้นิติบุคคลฯที่ตั้งขึ้น พร้อมเงินกองทุนอีกหลายล้านบาท คณะกรรมการนิติบุคคลฯก็ดำเนินกิจการมาด้วยดี แต่อย่างว่าล่ะ สมมุติฐานของเว็ปไซด์นี้คาดการณ์ไม่ผิดเลย เพราะปัญหาที่ตามมาและนับวันจะกลายเป็นปัญหาหลักเกินกว่าปัญหาข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อรายย่อยกับเจ้าของโครงการ ที่มีครั้งเดียวแล้วถ้าจบก็เลย แต่ปัญหาอันเกิดจากคณะกรรมการนิติบุคคลฯนี่ล่ะ ที่ถือเป็นภัยคุกคามรูปแบบใหม่ของสมาชิกในหมู่บ้าน บางทีมาตรงๆ บางทีมาแบบภัยเงียบ คือคณะกรรมการฯมักจะคิดเอาเองว่าพวกเขาเท่านั้นที่รักหมู่บ้านอย่างสุดชีวิตจิตใจ (จนน้ำลายไหล) ใช้อำนาจที่กฎหมายให้อย่างเมามันจนเลยเถิด สมาชิกในหมู่บ้านรายใดริอ่านดื้อดึงขาดจ่ายค่าส่วนกลาง(เราเรียกมันว่าค่าคุ้มครอง) จะถูกผู้จัดการที่เป็นญาติกับกรรมการหมู่บ้านคนหนึ่ง ออกจดหมายทวงหนี้ทันที พร้อมสำทับว่าค่าทวงถามครั้งละ 200 บาท ดอกเบี้ยค้างจ่ายร้อยละ 10 เกิน 3 เดือนอายัดสิทธิการโอนต่อนายทะเบียนที่ดิน เกิน 6 เดือนระงับการให้บริการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ และจะเข้าออกหมู่บ้านต้องแลกบัตรผ่านทุกกรณี หากยังเพิกเฉยอีกจะปิดประกาศประจานที่บอร์ดของหมู่บ้าน ณ ที่สโมสร สมาชิกไม่มีสิทธิโต้เถียงหรือแสดงความเห็นใดๆเพราะไม่มีประโยชน์ แล้วถ้าใครยังกล้าหืออีกจะมีมาตรการเก็บถังขยะไปเสีย ตัดไฟฟ้าส่องสว่างริมถนนตรงหน้าบ้าน และที่โหดสุดๆไม่ทราบฝีมือใครเหมือนกัน ถูกขโมยยกเค้าติดๆกัน 3 ครั้งในรอบเดือนเดียว ดังนั้นจึงขอเตือนเพื่อให้สมาชิกที่ริอ่านจะหือกับกรรมการฯหรือกับผู้จัดการได้สำเหนียกว่าที่นี่คือที่ไหน และคุณต้องฟังใคร ไม่เช่นนั้นคุณมีสิทธิประสาทหลอนหรือไม่ก็เอ๋อ ไม่เว้นแม้แต่สุนัขที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีสมาชิกบางท่านเมตตาให้อาหารมัน ประมาณ 10 กว่าตัว วันร้ายคืนโหดมาถึง ไม่ทราบว่าพวกมันไปทำอะไรขัดใจประธานที่ปรึกษาของคณะกรรมการหมู่บ้านเข้า เป็นเหตุให้ถึงคราวต้องถูกวิสามัญหมู่ในค่ำคืนหนึ่งอันแสนหฤโหดด้วยการวางยาพิษ ผลคือนอนตายดาษดื่นไม่เว้นแม้สุนัขมีเจ้าของที่ไม่รู้อีโน่อีเหน่วิ่งออกกำลังกายตอนเช้าแล้วเผลอไปกินยาพิษเข้าไปด้วย ศพสุนัขไม่มีญาติได้ถูกลำเลียงมาโยนลงที่คูร้างหลังศาลพระภูมิของหมู่บ้านแล้วกลบด้วยเศษหินเศษปูนอย่างรวดเร็วแน่นหนา เมื่อสมาชิกเจ้าของสุนัขที่ตายไปถามความรับผิดชอบจากประธานหมู่บ้าน ก็ได้คำตอบว่าเมื่อคืนมีโจรเข้ามาวางยาเบื่อสุนัขทั้งหมู่บ้าน เพราะโจรมีแผนจะเข้าโจรกรรมทรัพย์สินของบ้านสมาชิก นี่แหละภูมิปัญญาของคณะกรรมการหมู่บ้านฯแห่งนี้ นอกจากนี้หากพนักงานคนใดไม่ร่วมมือด้วยดี บังอาจนำความจริงไปเปิดเผยให้สมาชิกอื่นของหมู่บ้านได้ล่วงรู้ถึงความไม่ชอบมาพากลของคณะกรรมการฯ ก็จะไล่ออกทันทีภายในไม่เกิน3 วัน พร้อมข้อหาต่างๆที่ร้ายแรง แล้วกรรมการคนหนึ่งยังท้าทายให้ไปฟ้องศาลแรงงานหากเห็นว่าไม่ได้รับความยุติธรรม แล้วพนักงานคนนั้นก็ฟ้องนิติบุคคลต่อศาลจริงๆ จนคณะกรรมการฯต้องเอาเงินของนิติบุคคลฯมาจ้างทนายสู้คดี สุดท้ายนิติบุคคลฯยอมแพ้คดี แล้วยังมีอีกหลายคดีที่คณะกรรมการฯถูกฟ้อง ซึ่งแนวโน้มก็จะแพ้ทุกคดี แต่ที่แสบคือคณะกรรมการฯเล่นเอาเงินของนิติบุคคลฯไปใช้จ้างทนายสู้คดี ทั้งที่ทุกเรื่องที่ฟ้องนั้นนิติบุคคลฯไม่ได้ถูกฟ้อง แต่คณะกรรมการฯต่างหากที่ถูกฟ้องรายตัว นอกจากนี้เวลามีการประชุมใหญ่ประจำปี คณะกรรมการฯ จะมีจัดการประชุมและจัดทำรายงานการประชุมที่ผิดเพี้ยน เพื่อให้สิ่งที่คณะกรรมการฯต้องการได้ปรากฎอยู่ในรายงานการประชุม แล้วสมาชิกส่วนใหญ่ก็จะไม่สนใจเท่าไร เพราะหลังประชุมใหญ่ผ่านไปก็ต่างคนต่างอยู่ และยังมีความไม่ถูกอีกมากที่ไม่สามารถกล่าวได้หมด

กรณีศึกษา#3 เรื่องของผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


อยากทราบว่าการเปิดบัญชีของหมู่บ้านจำเป็นจะต้องเปิดบัญชีกระแสรายวันด้วยหรือเปล่าค่ะเพราะเมื่อก่อนที่ดิฉันเป็นเลขาฯของชุมชนในหมู่บ้านยังต้องเปิดบัญชชีกระแสรายวันเลยค่ะแต่หมู่บ้านที่ดิฉันอยู่ทำไมเค้าถึงไม่เปิดบัญชีกระแสรายวันเพราะทางหมู่บ้านมีรายรับเข้าทุกวันค่ะ
แต่ดิฉันสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติอย่างหนึ่งว่าผู้จัดการของนิติได้เอางานส่วนตัวเข้ามาทำในสำนักงานและใช้วัสดุอุปกรณ์ของทางนิติฯผิดหรือเปล่าค่ะ และทำไมเวลาประชุมทุกเดือนผู้จัดการถึงไม่ยอมถ่ายสำเนาของสมุดบัญชีมาให้ทางคณะกรรมดู มีอยู่วันหนึ่งกรรมการได้รับการอนุญาตจากประธานในการขอเข้าตรวจสอบบัญชีซึ่งกรรมการได้ขอสมุดบัญชีดูแต่ทางผู้จัดการปฏิเสธที่จะให้ดูแต่ผู้จัดการได้แจ้งแก่กรรมการว่าได้ถ่ายสำเนาไว้ให้แล้วถึงวันที่20ของเดือนซึ่งในวันที่กรรมการไปขอตรวจเอกสารนั้นเป็นวันที่27ของเดือนแต่รายรับของนิติฯยังไม่ได้เข้าบัญชีตั้งแต่วันที่17ของเดือนรวมแล้วเวลาถึง10วันเป็นเงินเกือบ30000บ.ที่ยังไม่เข้าบัญชีแล้วกรรมการก็ได้โทรไปแจ้งให้ประธานทราบประธานก็โทรมาถามผู้จัดการว่าทำไมไม่เอาเงินไปเข้าให้แล้วเรื่องมันก็จบแต่พอตอนเย็นอีก10นาทีจะเลิกงานประธานโทรมาสั่งให้มีการประชุมด่วนโดยปกติประธานจะสั่งให้ผู้จัดการติดต่อกรรมการให้แต่วันนั้นประธานกลับติดต่อเองผู้จัดการก็เลยงงว่าเกิดอะไรขึ้นไม่ทราบว่าจะปประชุมเรื่องอะไรเลยตกใจผู้จัดการได้โทรไปบอกสามีว่ามีประชุมด่วน(ประชุมเรื่องรปภ.)แต่พอประชุมได้สักพักสามีผู้จัดการก็ถือไม้คมแฝกขึ้นมาขู่กรรมการว่าใครจะตรวจบัญชีเมียผมซึ่งอันที่จริงแล้วเรื่องการประชุมมันไม่เกี่ยวกับการตรวจสอบบัญชีเลยและกรที่สามีผู้จัดการบุกรุกขึ้นมาบนสถานที่ประชุมนัดผิดไหมและเค้าทำให้เราสามารถคิดไปได้ว่าเค้าร้อนตัวไปเองหรือเปล่าในเรื่องการเงินและในทางการทำงานแล้วมันผิดไหมที่สามีเค้าขึ้นมาอาละวาทและเราสามารถปลดหรือให้ผู้จัดการพักงานจนกว่าทางสมาชิกจะตรวจบัญชีเสร็จได้หรือไม่ค่ะ รบกวนขอคำแนะนำด่วนได้ไหมค่ะเพราะเราไม่ไว้ใจผู้จัดการแล้วและประธานก็แจ้งว่าถ้าผู้จัดการอยู่จะไม่มีการประชุมและไม่ขึ้นมาบนนิติฯอีกขอบคุณมากๆค่ะ

กรณีศึกษา#2 เครียดกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


ดิฉันมีเรื่องคับข้องใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ตัวเองอยู่ มาขอคำปรึกษาค่ะ อาจจะมีเนื้อหายาวไปบ้าง ก็ต้องขออภัยนะคะ
คือโดยหลักการแล้ว ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งที่หมู่บ้านจัดสรรจะมีการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อมาดูแลสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน รวมถึงไม่ขัดข้องที่ต้องเสียค่าดำเนินการดังกล่าว และที่ผ่านมาก็เคยเป็นกรรมการนิติบุคคลฯ ในหมู่บ้านที่อยู่ ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกด้วย แต่ต่อมากลับพบว่ากรรมการนิติฯ (หรือจะเรียกว่ากรรมการหมู่บ้าน?) รวมหัวกับผจก.นิติฯ ได้นำเงินค่าส่วนกลางดังกล่าวไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหลายประการ อาทิ เหมารถไปงานศพแม่กรรมการ ซื้อของรับขวัญเมียกรรมการที่เพิ่งคลอดลูก ฯลฯ ซึ่งเมื่อดิฉันทักท้วง ก็หาว่าไม่มีน้ำใจ และกรรมการที่นำเงินไปใช้ก็จะบอกว่าเป็นเงินเล็กน้อย สมาชิกหมู่บ้านไม่ว่าหรอก เพราะถือเป็นการตอบแทนน้ำใจกรรมการที่เสียสละมาทำงาน (ค่าน้ำค่าแอร์ค่ากาแฟน้ำดื่มในสนง.นิติฯ ใช้เงินส่วนกลางทั้งนั้น) แต่ต่อมามีการนำเงินกองทุนที่บริษัทจัดสรรมอบให้ (หลักล้านบาท) มาจัดซื้อและสร้างสิ่งต่างๆ โดยไม่มีการเรียกตรวจสอบราคา และมอบงานเอื้อพวกพ้องเดียวกัน โดยอ้างว่าประหยัดค่า ใช้จ่ายกว่าเดิม ซึ่งการสร้างสิ่งก่อสร้างก็จะบอกสมาชิกว่าเป็นการพัฒนาหมู่บ้าน เมื่อทักท้วงใด ๆ ไม่เป็นผล บางกรณีดิฉันทักท้วงและมีคำแนะนำ เช่น การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบางอย่างที่ใช้เงินจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสน แต่กลับไม่มีการถามความเห็นสมาชิกทุกคน (ขอย้ำว่า ทุกคน”) ว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ประธานกรรมการจะอ้างมีอำนาจตัดสินใจได้เลย (แต่ดิฉันมาทราบภายหลังว่า สมาชิกบางหลังยังคิดว่าสิ่งที่สร้างนั้น ทางอบต.ให้งบมา จึงเฉยๆ กัน) ดิฉันจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นกรรมการก่อนครบวาระทันที ทำให้ถูกตำหนิจากกรรมการท่านอื่นๆ ว่าทำให้คณะกรรมการเสียชื่อ (เพราะขนาดเหรัญญิกยังลาออก) และมีการไปว่ากล่าวให้ร้ายดิฉันลับหลังกับสมาชิกในกลุ่มพวกพ้องกรรมการ ว่าเป็นเพราะดิฉันทำงานไม่เป็น จึงต้องออก แต่ปัญหายังตามมาไม่จบสิ้น เมื่อกรรมการบางท่านที่เป็นทนายใหญ่ ได้ใช้ข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ที่ดินเรื่องการจัด ตั้งนิติฯ มาบังคับให้สมาชิกหมู่บ้านต้องจ่ายค่าส่วนกลาง บ้านไหนค้างชำระเกิน 6 เดือนก็ส่งหนังสือระงับการทำนิติกรรมในที่ดินแปลงนั้นต่อสำนักงานที่ดินทันที มีการออก กฎบังคับบ้านไหนไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ก็จะไม่อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ไม่ให้สติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ และต้องแลกบัตรเข้ามาในหมู่บ้าน รวมถึงให้รปภ.ขี่รถตามประกบว่ามาถึงบ้านตัวเองหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งบางอย่างดิฉันเห็นด้วยในข้อที่ว่า การอยู่ร่วมกันก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันแต่บางกรณีดิฉันว่ากรรมการชุดนี้ ทำเกินไปเพราะไม่มีการถามไถ่ผู้ค้างชำระก่อนเลยว่า ทำไมถึงไม่จ่าย เอ๊ะอะ ก็จะใช้ข้อกม.กฎระเบียบที่ร่างกันขึ้นมา มาบังคับใช้และเชื่อว่าอีกหลายกรณีได้สร้างความอึดอัดให้กับสมาชิกหมู่บ้านเช่นกัน จึงอยากรบกวนเรียนถามอาจารย์เป็นข้อๆ ดังนี้นะคะว่า
1.กรณีเช่นนี้ สมาชิกจะทำอะไรได้เพื่อเรียกร้องสิทธิให้ตัวเองได้บ้าง ในเมื่อเงินที่จ่ายเป็นค่าส่วนกลางก็เป็นเงินของสมาชิกทุกคน(รวมถึงของดิฉันด้วย) ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนผจก.นิติฯ เงินจ้างรปภ.เงินจ้างคนงานกวาดถนนทำสวน ฯลฯ ดิฉันเข้าใจว่าการจ่ายค่าส่วนกลางให้นิติฯ ก็เพื่อให้เป็นผู้ชำระค่าจ้างคนงาน ค่าไฟ ค่าเก็บขยะ แทนสมาชิกฯ ไม่ใช่หรือ ทำไมไหงเป็นว่าการมีกรรมการนิติฯ กลับกลายเป็นการมอบสิทธิในการตัดสินใจเรื่องนอกเหนือจากนี้ให้คนกลุ่มนี้ไปได้ ทักท้วงหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ กรรมการชุดนี้จะอ้างเสียงส่วนมากตลอด และว่าดิฉันเป็นเสียงส่วนน้อย งั้นตกลงว่าเสียงส่วนน้อยไม่มีความหมายหรืออย่างไร ดิฉันสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.ที่ดิฉันมึนมากในขณะนี้ก็คือ ดิฉันเคยทักท้วงให้คณะกรรมการฯ ทำตามมติที่ประชุมคณะกรรมการย่อย(สมัยที่ดิฉันยังเป็นกรรมการอยู่) ให้จ่ายค่าส่วนกลางผ่านบัญชีธนาคารได้ (เพราะเคยมีปัญหาเงินขาดเงินหายมาแล้ว) และดิฉันเองก็ชำระเงินผ่านบัญชีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เป็นการชำระเงินล่วงหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งต่อมามีหนังสือกล่าวหาว่าดิฉันค้างชำระค่าส่วนกลาง และจะฟ้องเรียกหนี้ดังกล่าว(รวมดอกเบี้ย) ดิฉันจึงทักท้วงเรื่องดังกล่าวกลับไปอีกครั้ง พร้อมจัดส่งมีสำเนาใบเพย์อินไปให้ทางนิติฯแต่กลับได้รับหนังสือจากประธานกรรมการนิติฯ ว่าไม่มีนโยบายให้ชำระเงินผ่านบัญชีดังกล่าว และเหมือนจะบังคับกลายๆ ให้สมาชิกฯ ต้องนำ เงินสดไปชำระกับผจก.ด้วยตัวเอง และไม่รับรู้การจ่ายเงินผ่านบัญชีของดิฉัน และนิติฯ จะทำเรื่องระงับการทำนิติกรรมในที่ดินแปลงที่ดิฉันอยู่อาศัยกับสนง.ที่ดิน ดิฉันควรทำอย่างไร?
3.ล่าสุดดิฉันรับทราบมาว่า ในรอบ1ปีนี้ มีการหักเงินบริษัทรปภ.เดิมค่าทำงานบกพร่องไปหลายครั้งรวมสามหมื่นกว่าบาท แต่ในเอกสารการชี้แจงการทำบัญชีของนิติฯ กลับระบุจ่ายเงินค่ารปภ.เต็มจำนวนทุกเดือน และไม่ปรากฏยอดเงินที่หักไว้ดังกล่าวตีกลับคืนบัญชีในแง่ของการทำเอกสารทางการบัญชี ทำให้ดิฉันข้องใจการบริหารเงินของกรรมการชุดนี้เป็นอย่างยิ่ง บวกกับสมัยเป็นเหรัญญิกฯ รับรู้เรื่องกรรมการบางท่านนำเงินส่วนกลางไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหลายครั้ง จึงรบกวนเรียนถามอาจารย์ว่าดิฉันควรทำอย่างไรดีที่จะไม่เป็นการถูกกล่าวหาทางกรรมการชุดนี้ว่า ทำให้พวกเขาเสียชื่อเสียง
4.และเร็ว ๆ นี้ จะมีการประชุมเลือกกรรมการใหม่เพราะชุดนี้หมดวาระ แต่มีแนวโน้มว่ากรรมการชุดนี้บางคนต้องการกลับมากรรมการเป็นอีก เพราะจู่ๆ กรรมการชุดนี้ก็มีการออกระเบียบให้มีการเลือกกรรมการไม่ต่างจากการเลือกตั้งแบบทางการ และให้สมาชิกที่ไม่สามารถมาประชุมใหญ่หมู่บ้านเพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ สามารถมอบอำนาจให้คนที่มาได้ โดยบ้าน1หลังรับมอบอำนาจจากบ้านที่ไม่มาได้ 3 หลัง ซึ่งนอก จากจะมึนกับระเบียบที่ว่าแล้ว ยังงงด้วยว่า ดิฉันมอบสิทธิในการตัดสินใจให้คณะบุคคลพวกนี้ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ดิฉันจึงขอเรียนถามว่า ควรทำอย่างไรดี ควรตั้งทนายสู้เพื่อป้องกันตัวไว้เลยดีมั้ย หรือทำตัวหงออยู่แต่ในบ้านเล็กๆ ของตัวเอง รอรับชะตากรรมเฮงซวย ดิฉันยังยืนยัน เห็นด้วยกับหลักการตั้งนิติฯ แต่การมีนิติฯ แล้วเหมือนเป็นการสร้างผู้อิทธิพลหน้าใหม่ให้ชุมนุม ยังไงไม่รู้ จะร้องเรียนหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคก็ไม่ได้ ขยับตัวแหกปากกับหน่วยงานไหนก็มืดไปหมด พวกนั้นตั้งท่าหาว่าทำให้พวกเขาเสียชื่อเสียงอยู่เรื่อง ยิ่งพักนี้เรื่องคดีหมิ่นประมาทกำลังบูมซะด้วยรบกวนขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ด้วยค่ะ เพราะไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครแล้ว ความรู้ทางกฎหมายของตัวเองก็งูๆ ปลาๆเพราะเรียนมาแค่กฎหมายเบื้องต้น(ตอนเรียนป.ตรี บังคับเรียนค่ะ) เพื่อนๆ ก็ยุให้ขายบ้านทิ้งซะ แต่ดิฉันอยู่ที่นี่มาสิบปีแล้วนะแต่นิติฯ เพิ่งตั้งได้ 2 ปีเอง
จะต้องหาทนายมาคุ้มครองตัวเองดีหรือไม่ และหากนิติฯ ทำหนังสือระงับนิติกรรมที่ดินของดิฉันๆ สามารถไปโต้แย้งอะไรได้บ้าง รบกวนขอคำแนะนำจริงๆ ด้วยค่ะ