หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

หมู่บ้านจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เพราะ พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543

การแก้ไข พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 คือทางออก หรือไม่
คิดว่า การออกกฏหมาย การจัดการหมู่บ้าน ในลักษณะนี้
ไม่เหมาะกับสังคมไทย ที่เป็นสังคมแนวรัฐอุปถัมภ์ ต่างคนต่างอยู่
มีความเป็นตัวของตนเองสูง อีกทั้งยังไม่ค่อยได้ฝึกการร่วมมือทำงาน
หรือที่เค้าเรียกว่าทำงานกลุ่มไม่เป็นนั่นเอง ด้านหนึ่งการออกกฏหมายนั่นเหมือนหวังดี
แต่อีกด้านมันกลับเลวร้าย การเมืองระดับประเทศ มีผู้แสวงหาผลประโยชน์ฉันใด
ในวงกลุ่มคนเล็กๆอย่างหมู่บ้าน ก็ไม่อาจหนีปัญหาแบบเดียวกันไปได้
เงินนั่นเอง หากไม่มีเงินให้ใช้ได้ง่ายสนุกมือ การมาทำงานต้องเสียสละจริงๆ
ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ แอบแผง คนดีๆ ก็จะกล้ามาทำ ตอนนี้กลายเป็นว่า
คนดี ไม่มีมาทำนิติบุคคล เพราะเค้ารู้ว่ามันเสี่ยงกับการเสื่อมเสีย
โลกปัจจุบันก็ไม่ค่อยไว้ใจกัน คนที่มาเสนอตัวทำ เลยมีเหลือ 2 พวก
คือพวกโดนชักจูง หลอกให้มาทำ และพวกจงใจมา
พวกโดนชักจูง จะรู้ตัวก็เหมือนจะสายไปเสียแล้ว หลักฐานที่โดนหลอกให้เซ็นไป
เป็นตัวประกันทำให้ต้องจำใจ ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น และไม่ร่วมมือใดๆในการให้ข้อมูล
เพราะกลัวตัวเองเดือดร้อน
พวกจงใจ ก็จะทำตัวเหมือนผู้ล่า(เงิน)ที่หิวกระหาย พร้อมตะครุบเหยื่อที่ไม่สามารถอยู่รวมกลุ่มได้
สังเวยความตายไปทีละตัว อย่างเหี้ยมโหด

ต้องอธิบายก่อนว่าไม่ได้มีความคิดที่ต้องการผลักให้รัฐอุปถัมภ์แบบโยนภาระไปให้เต็มๆ
แบบที่มีใครว่า มาอ้างไม่อยากจ่ายเพราะจ่ายภาษีแล้ว ทำไมยังต้องมาจ่ายค่าส่วนกลางอีก
แต่เข้าใจในสังคม ค่านิยมและความเป็นคนไทย ชอบรัฐอุปถัมภ์
ลองดูข่าวภัยพิบัติสิคะ ก็จะพบว่า ทั้ง ไทย ญี่ปุ่น ก็เป็นสังคม รัฐอุปถัมภ์
ก็แบบว่าเราชอบมีคนดูแล มันเป็นสังคมสืบถอดมาจากระบบกษัตริย์ปกครอง
ที่มีการดูแลอนาราษฎร ดุจดั่งลูกหลาน มันอบอุ่นใจดี
ต่างจากที่เวลาฝรั่งบ้านพัง เค้าก็ไปเคลมบริษัทประกัน รัฐไม่ได้มาสร้างให้
แต่ระบบบริษัทประกันประเทศเรา ก็รู้ๆกันอยู่ว่ามันแปลกๆ โน่น นี่ นั่น
ก็ยกเว้น เช่น ไม่รวมภัยภิบัติ การจลาจล อุบัติเหตุไม่รวมขี่มอเตอร์ไซค์ ฯลฯ
จนไม่รู้ว่าจะทำประกันภัยไปเพื่ออะไร
เวลาโชคร้าย เหมือนเล่นหวยงัยยังงั้น ต้องเข้าข่ายความคุ้มครอง
ไม่งั้น ก็โชค (ร้าย) 2 ชั้น เคลมไม่ได้ซะงั้น
 
อย่างเคสดูแลหมู่บ้าน ก็ให้รัฐอุปถัมภ์ (ช่วยกรุณาทำให้หน่อย ทำเองมันล่ม มันเละ)
และก็จะช่วยจ่ายเพิ่มดีกว่าไหม เพราะก็เข้าใจนะว่า เมื่อได้บริการเพิ่มก็ต้องจ่ายเพิ่ม
รัฐหาทางจัดการให้ทีได้ไหม อย่าปล่อยให้มาทะเลาะเบาะแว้งกันในสังคมชุมชนที่อยู่อาศัยอีกเลย
ปกติก็แทบไม่รู้จักกันแล้วยังเกลียดขี้หน้ากันอีก จะแบ่งข้าง แล้วเอาเสื้อสีแดงกับเหลือง มาใส่แล้วปาระเบิดใส่กันอยู่แล้ว ประชุมทีไรก็ทะเลาะกัน ชี้หน้าด่าทอกัน เสร็จก็ไปงุบงิบประชุมย่อย
ในกลุ่มกรรมการแล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันอีก เบื่อ จนไม่มีคนอยากเข้าประชุม ไม่รู้ทำงัย
เลยจำเป็นต้อง make รายงานการประชุม ปลอมลายเซ็น ยัดมติที่ไม่ได้ประชุมไว้ในรายงาน
แล้วสุดท้ายก็ทะเลาะกันอีก (วน) เบื่อ จนไม่มีคนอยากเข้าประชุม
ท้ายที่สุด(จริงๆ)ทั้งหมู่บ้านเหลือคนทำอยู่ 2 คน คือประธานกับเหรัญญืก
แล้วหมู่บ้านจะแตกเป็นเสี่ยงๆ เวลาขับรถผ่านก็ทำเป็นมองไม่เห็นกัน(ล่องหน)

การให้รัฐจัดการ บางคนก็กลัวว่ามันจะมีการโกงกิน มันก็เป็นอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ
มีทั้งที่ดีผสมไม่ดี (สีเทาๆ) แต่ยังดีที่มันเป็นหน่วยงานภาครัฐ มันก็ยังถูกตรวจสอบได้ง่ายกว่า
พอเป็นนิติบุคคลกำมะลอ เอกสารอะไรก็มุบมิบ บัญชีก็มั่วๆ
เพราะตามกฎหมายนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ไม่ต้องยื่นภาษี
แถม สนง.ที่ดิน ที่เค้าได้รับมอบอำนาจให้มาดูแลก็ไม่ใช่นักบัญชี
ได้รับหน้าที่มาแต่ไม่ถนัด เค้าก็เลยไม่ได้ทำ (เห็นใจนะ ไม่ได้ว่า)
ก็มันส์หละค่ะพี่น้อง
อยากรู้จังว่า พรบ.ที่ดิน นี้
ใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษาจบอะไร และจบจากที่ไหน
หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าท่านไม่ได้จบในประเทศ
หรือเคยอาศัยในประเทศไทยมาก่อน
เลยเขียน กม. ที่ดูดี แต่ปฏิบัติได้ยากยิ่งเช่นนี้...

สงสารคนอาศัยตามหมู่บ้าน
ทำงานหาเงินเพื่อดำรงชีวิตอยู่ไปวันๆ
เบื่อเจ้านาย เกลียดขี้หน้าเพื่อนร่วมงาน
แล้วยังต้องมารบกับ คณะกรรมการนิติฯ ที่หมู่บ้านอีก

เรียกอะไรดี พรบ. 2543
พรบ.ปอกลอก
พรบ.หัวคิว
พรบ.แตกแยก
พรบ.ในฝัน (ทำจริงไม่ได้)
พรบ.สะดวกฉ้อโกง (หน้าบ้านเราเลย)

เบื่อจริงๆ
อยากไปตะโกนบอกความในใจ
ต่อ คณะกรรมการ ผู้ร่าง พรบ. นี้
ว่า ขอท่านจงเจริญ ขอท่านจงเจริญ!
ตายไปขอให้ได้ไปสวรรค์ ที่มี
พรบ.จัดสรรพื้นที่สวรรค์
ต้องนำของ เช่น ของเซ่นไหว้ หรือบุญกุศลที่มี
ไปเป็นค่าอาศัยอยู่บนสวรรค์
ขอให้มันแพงแสนแพง 50%
ของ ของที่ได้รับส่งบุญมาให้
จนตอนหลังไม่มีปัญญาจ่ายเลยต้อง
ถูกเตะออกมาจากสวรรค์
ให้ไปเกิดใหม่ หรือไปนรกเลย สาธุ
โอ แรงไปไหมนี่....