หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

การแก้ไข พรบ.จัดสรรที่ดิน 2543 คือทางออก หรือไม่

มัวแต่บ่นโน้น นี้ คนคงหาว่า เรา งก ไม่ยอมจ่ายเงิน
จริงๆแล้ว มีใครบ้างอยากจ่ายเงินให้กับสิ่งที่คิดว่าไม่คุ้มค่า หรือขาดความชัดเจน
หากแต่ว่า คนส่วนมากมักเลี่ยงที่จะ รักษาสิทธิ เพียงเพราะอาจทำให้ถูกมองไม่ดี
ดิฉันก็เป็นคนคนนึง ที่หากินอย่างสุจริต มีความจริงใจ ที่ให้กับทั้ง อาชีพการงาน และคนรอบข้าง
แต่เมื่อได้เห้นความไม่ยุติธรรมเล็กๆนี้ ก่อให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม โดยเฉพาะสังคมที่อยู่อาศัย
ก็เกิดความคิดอยากรวบรวมข้อมูลนี้ให้คนอีกหลายๆคนได้รับทราบ
สำหรับดิฉันมุ่งหวังให้เกิดการแก้ไข พรบ.ที่ดิน 2543 โดยการผลักดันภาคประชาชน
แต่ก็จำกัดด้วยความรู้และสติปัญญา ได้แต่หวังว่า ถ้ามีคนที่เก่งกว่า มีความรู้มากกว่า จะได้ชี้แนะถึง ทางออกที่ดีๆบ้าง
ข้อเสนอทางออกของดิฉัน:
อยากให้มีหน่วยงานภาครัฐมาดูแลแทน เหมาะที่สุดก็เห็นจะเป็น อบต. แยกเป็นงานๆไป จ้างลูกจ้างให้มันเป็นเรื่องเป็นราว ตามกฎราชการ ไม่ใช่จ้างต่างด้าว แล้วเก็บเงินรายปีแบบค่าขยะ เครื่องมือก็ไม่ต้องต่างคนต่างซื้อ เช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องสูบน้ำ จ่ายแบบนี้ คงไม่ถึงกับเป็นหลักหมื่นต่อปี ตัดตอนคนมาแสวงหาผลประโยชน์ตามหมู่บ้าน
เช่น
จ่ายค่าส่วนกลางนี้ให้ อบต. 1200-2400 บาทต่อปี (ตามต้นทุนการจัดการ)
จากเดิมเราเสีย ค่าขยะ 300 บาท ต่อปี
ก็เพิ่ม
ค่าตัดต้นไม้ ปกติหมู่บ้านก็ไปขอให้ อบต. มาทำนั่นแหละ (ฟรี)
ค่ากวาดใบไม้-ทำสวน
ค่ารอกท่อ
ค่าไฟถนน
ค่าดูดส้วม ตามครั้ง
ค่าจ้างยาม (สัดส่วนตามจำนวนบ้าน)
ส่วนหมู่บ้านที่มีสโมสรหรือ สระว่ายน้ำ ก็ต้องหา Solution เพื่อจัดการในส่วนนี้
เช่น ให้เอกชนมาประมูลเช่าและบริหาร ส่วนกำไรก็จะเข้ากองทุนหมู่บ้านสำหรับใช้ในกรณีสำคัญเท่านั้น เช่น ซ่อมถนน  โดยต้องได้รับความเห้นชอบจากลูกบ้านไม่น้อยกว่า 50% ไม่ชอบแบบ ที่ไปเข้าบัญชี นิติฯ ที่ มีคนลงนามแค่สองคนก็เอาเงินไปใช้ได้แล้ว โดยง่าย มติที่ประชุมก็มาจากคณะกรรมการไม่กี่คน ที่ปลอมลายเซ็น หรือเซ็นแทนกันด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น