หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา#2 เครียดกับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


ดิฉันมีเรื่องคับข้องใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ที่ตัวเองอยู่ มาขอคำปรึกษาค่ะ อาจจะมีเนื้อหายาวไปบ้าง ก็ต้องขออภัยนะคะ
คือโดยหลักการแล้ว ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งที่หมู่บ้านจัดสรรจะมีการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อมาดูแลสาธารณูปโภคของหมู่บ้าน รวมถึงไม่ขัดข้องที่ต้องเสียค่าดำเนินการดังกล่าว และที่ผ่านมาก็เคยเป็นกรรมการนิติบุคคลฯ ในหมู่บ้านที่อยู่ ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกด้วย แต่ต่อมากลับพบว่ากรรมการนิติฯ (หรือจะเรียกว่ากรรมการหมู่บ้าน?) รวมหัวกับผจก.นิติฯ ได้นำเงินค่าส่วนกลางดังกล่าวไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหลายประการ อาทิ เหมารถไปงานศพแม่กรรมการ ซื้อของรับขวัญเมียกรรมการที่เพิ่งคลอดลูก ฯลฯ ซึ่งเมื่อดิฉันทักท้วง ก็หาว่าไม่มีน้ำใจ และกรรมการที่นำเงินไปใช้ก็จะบอกว่าเป็นเงินเล็กน้อย สมาชิกหมู่บ้านไม่ว่าหรอก เพราะถือเป็นการตอบแทนน้ำใจกรรมการที่เสียสละมาทำงาน (ค่าน้ำค่าแอร์ค่ากาแฟน้ำดื่มในสนง.นิติฯ ใช้เงินส่วนกลางทั้งนั้น) แต่ต่อมามีการนำเงินกองทุนที่บริษัทจัดสรรมอบให้ (หลักล้านบาท) มาจัดซื้อและสร้างสิ่งต่างๆ โดยไม่มีการเรียกตรวจสอบราคา และมอบงานเอื้อพวกพ้องเดียวกัน โดยอ้างว่าประหยัดค่า ใช้จ่ายกว่าเดิม ซึ่งการสร้างสิ่งก่อสร้างก็จะบอกสมาชิกว่าเป็นการพัฒนาหมู่บ้าน เมื่อทักท้วงใด ๆ ไม่เป็นผล บางกรณีดิฉันทักท้วงและมีคำแนะนำ เช่น การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างบางอย่างที่ใช้เงินจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสน แต่กลับไม่มีการถามความเห็นสมาชิกทุกคน (ขอย้ำว่า ทุกคน”) ว่าเห็นด้วยหรือไม่ แต่ประธานกรรมการจะอ้างมีอำนาจตัดสินใจได้เลย (แต่ดิฉันมาทราบภายหลังว่า สมาชิกบางหลังยังคิดว่าสิ่งที่สร้างนั้น ทางอบต.ให้งบมา จึงเฉยๆ กัน) ดิฉันจึงตัดสินใจลาออกจากการเป็นกรรมการก่อนครบวาระทันที ทำให้ถูกตำหนิจากกรรมการท่านอื่นๆ ว่าทำให้คณะกรรมการเสียชื่อ (เพราะขนาดเหรัญญิกยังลาออก) และมีการไปว่ากล่าวให้ร้ายดิฉันลับหลังกับสมาชิกในกลุ่มพวกพ้องกรรมการ ว่าเป็นเพราะดิฉันทำงานไม่เป็น จึงต้องออก แต่ปัญหายังตามมาไม่จบสิ้น เมื่อกรรมการบางท่านที่เป็นทนายใหญ่ ได้ใช้ข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ที่ดินเรื่องการจัด ตั้งนิติฯ มาบังคับให้สมาชิกหมู่บ้านต้องจ่ายค่าส่วนกลาง บ้านไหนค้างชำระเกิน 6 เดือนก็ส่งหนังสือระงับการทำนิติกรรมในที่ดินแปลงนั้นต่อสำนักงานที่ดินทันที มีการออก กฎบังคับบ้านไหนไม่จ่ายค่าส่วนกลาง ก็จะไม่อำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ไม่ให้สติ๊กเกอร์ติดหน้ารถ และต้องแลกบัตรเข้ามาในหมู่บ้าน รวมถึงให้รปภ.ขี่รถตามประกบว่ามาถึงบ้านตัวเองหรือไม่ ฯลฯ ซึ่งบางอย่างดิฉันเห็นด้วยในข้อที่ว่า การอยู่ร่วมกันก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันแต่บางกรณีดิฉันว่ากรรมการชุดนี้ ทำเกินไปเพราะไม่มีการถามไถ่ผู้ค้างชำระก่อนเลยว่า ทำไมถึงไม่จ่าย เอ๊ะอะ ก็จะใช้ข้อกม.กฎระเบียบที่ร่างกันขึ้นมา มาบังคับใช้และเชื่อว่าอีกหลายกรณีได้สร้างความอึดอัดให้กับสมาชิกหมู่บ้านเช่นกัน จึงอยากรบกวนเรียนถามอาจารย์เป็นข้อๆ ดังนี้นะคะว่า
1.กรณีเช่นนี้ สมาชิกจะทำอะไรได้เพื่อเรียกร้องสิทธิให้ตัวเองได้บ้าง ในเมื่อเงินที่จ่ายเป็นค่าส่วนกลางก็เป็นเงินของสมาชิกทุกคน(รวมถึงของดิฉันด้วย) ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนผจก.นิติฯ เงินจ้างรปภ.เงินจ้างคนงานกวาดถนนทำสวน ฯลฯ ดิฉันเข้าใจว่าการจ่ายค่าส่วนกลางให้นิติฯ ก็เพื่อให้เป็นผู้ชำระค่าจ้างคนงาน ค่าไฟ ค่าเก็บขยะ แทนสมาชิกฯ ไม่ใช่หรือ ทำไมไหงเป็นว่าการมีกรรมการนิติฯ กลับกลายเป็นการมอบสิทธิในการตัดสินใจเรื่องนอกเหนือจากนี้ให้คนกลุ่มนี้ไปได้ ทักท้วงหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้ กรรมการชุดนี้จะอ้างเสียงส่วนมากตลอด และว่าดิฉันเป็นเสียงส่วนน้อย งั้นตกลงว่าเสียงส่วนน้อยไม่มีความหมายหรืออย่างไร ดิฉันสามารถทำอะไรได้บ้าง
2.ที่ดิฉันมึนมากในขณะนี้ก็คือ ดิฉันเคยทักท้วงให้คณะกรรมการฯ ทำตามมติที่ประชุมคณะกรรมการย่อย(สมัยที่ดิฉันยังเป็นกรรมการอยู่) ให้จ่ายค่าส่วนกลางผ่านบัญชีธนาคารได้ (เพราะเคยมีปัญหาเงินขาดเงินหายมาแล้ว) และดิฉันเองก็ชำระเงินผ่านบัญชีมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เป็นการชำระเงินล่วงหน้าด้วยซ้ำ ซึ่งต่อมามีหนังสือกล่าวหาว่าดิฉันค้างชำระค่าส่วนกลาง และจะฟ้องเรียกหนี้ดังกล่าว(รวมดอกเบี้ย) ดิฉันจึงทักท้วงเรื่องดังกล่าวกลับไปอีกครั้ง พร้อมจัดส่งมีสำเนาใบเพย์อินไปให้ทางนิติฯแต่กลับได้รับหนังสือจากประธานกรรมการนิติฯ ว่าไม่มีนโยบายให้ชำระเงินผ่านบัญชีดังกล่าว และเหมือนจะบังคับกลายๆ ให้สมาชิกฯ ต้องนำ เงินสดไปชำระกับผจก.ด้วยตัวเอง และไม่รับรู้การจ่ายเงินผ่านบัญชีของดิฉัน และนิติฯ จะทำเรื่องระงับการทำนิติกรรมในที่ดินแปลงที่ดิฉันอยู่อาศัยกับสนง.ที่ดิน ดิฉันควรทำอย่างไร?
3.ล่าสุดดิฉันรับทราบมาว่า ในรอบ1ปีนี้ มีการหักเงินบริษัทรปภ.เดิมค่าทำงานบกพร่องไปหลายครั้งรวมสามหมื่นกว่าบาท แต่ในเอกสารการชี้แจงการทำบัญชีของนิติฯ กลับระบุจ่ายเงินค่ารปภ.เต็มจำนวนทุกเดือน และไม่ปรากฏยอดเงินที่หักไว้ดังกล่าวตีกลับคืนบัญชีในแง่ของการทำเอกสารทางการบัญชี ทำให้ดิฉันข้องใจการบริหารเงินของกรรมการชุดนี้เป็นอย่างยิ่ง บวกกับสมัยเป็นเหรัญญิกฯ รับรู้เรื่องกรรมการบางท่านนำเงินส่วนกลางไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหลายครั้ง จึงรบกวนเรียนถามอาจารย์ว่าดิฉันควรทำอย่างไรดีที่จะไม่เป็นการถูกกล่าวหาทางกรรมการชุดนี้ว่า ทำให้พวกเขาเสียชื่อเสียง
4.และเร็ว ๆ นี้ จะมีการประชุมเลือกกรรมการใหม่เพราะชุดนี้หมดวาระ แต่มีแนวโน้มว่ากรรมการชุดนี้บางคนต้องการกลับมากรรมการเป็นอีก เพราะจู่ๆ กรรมการชุดนี้ก็มีการออกระเบียบให้มีการเลือกกรรมการไม่ต่างจากการเลือกตั้งแบบทางการ และให้สมาชิกที่ไม่สามารถมาประชุมใหญ่หมู่บ้านเพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่ สามารถมอบอำนาจให้คนที่มาได้ โดยบ้าน1หลังรับมอบอำนาจจากบ้านที่ไม่มาได้ 3 หลัง ซึ่งนอก จากจะมึนกับระเบียบที่ว่าแล้ว ยังงงด้วยว่า ดิฉันมอบสิทธิในการตัดสินใจให้คณะบุคคลพวกนี้ไปตั้งแต่เมื่อไหร่ ดิฉันจึงขอเรียนถามว่า ควรทำอย่างไรดี ควรตั้งทนายสู้เพื่อป้องกันตัวไว้เลยดีมั้ย หรือทำตัวหงออยู่แต่ในบ้านเล็กๆ ของตัวเอง รอรับชะตากรรมเฮงซวย ดิฉันยังยืนยัน เห็นด้วยกับหลักการตั้งนิติฯ แต่การมีนิติฯ แล้วเหมือนเป็นการสร้างผู้อิทธิพลหน้าใหม่ให้ชุมนุม ยังไงไม่รู้ จะร้องเรียนหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคก็ไม่ได้ ขยับตัวแหกปากกับหน่วยงานไหนก็มืดไปหมด พวกนั้นตั้งท่าหาว่าทำให้พวกเขาเสียชื่อเสียงอยู่เรื่อง ยิ่งพักนี้เรื่องคดีหมิ่นประมาทกำลังบูมซะด้วยรบกวนขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ด้วยค่ะ เพราะไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครแล้ว ความรู้ทางกฎหมายของตัวเองก็งูๆ ปลาๆเพราะเรียนมาแค่กฎหมายเบื้องต้น(ตอนเรียนป.ตรี บังคับเรียนค่ะ) เพื่อนๆ ก็ยุให้ขายบ้านทิ้งซะ แต่ดิฉันอยู่ที่นี่มาสิบปีแล้วนะแต่นิติฯ เพิ่งตั้งได้ 2 ปีเอง
จะต้องหาทนายมาคุ้มครองตัวเองดีหรือไม่ และหากนิติฯ ทำหนังสือระงับนิติกรรมที่ดินของดิฉันๆ สามารถไปโต้แย้งอะไรได้บ้าง รบกวนขอคำแนะนำจริงๆ ด้วยค่ะ

4 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ8 กันยายน 2554 เวลา 10:20

    ปัญหาคุณเหมือนกับของเรามาก ติดต่อกับพวกเราได้ที่
    โทร 081-702-0231 Email : freemooban@gmail.com

    ตอบลบ
  2. รอฟังยุ่ค่ะสถานการณ์เดียวกัน

    ตอบลบ
  3. นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นอะไรที่น่าเบื่อมากครับ ปัญหาเยอะ เงินก็ไม่ได้โดนสมาชิกด่าอีกทำอะไรไม่ถูกใจ แถมทำงานเยอะกว่างานประจำอีก เบื่อๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ พึ่งจัดตั้งยังไม่ถึง สามเดือนเลยครับ ขอลาออกดีกว่าครับ
    ขอสอบถามหน่อยครับ ถ้าจัดตั้งนิติได้ ประมาณ 2 เดือน สมาชิกลาออกได้มั้ยครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ผมเป็นประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นได้แค่ 4 เดือน ตอนนี้อยากลาออกมากครับ เงินก็ไม่ได้ ยังต้องมาถูกลูกบ้านด่าอีก แต่ก็กลัวถูกหาว่าเห็นแก่ตัว

      ลบ